มิถุนายน 14, 2024
Certificate ที่น่าสอบเพื่อตอบโจทย์การทำงานสาย IT ในปี 2024
Certificate หรือใบรับรอง ผลการอบรม รวมถึงผลสอบ มักช่วยให้คนหาและได้งานฉันใด อาชีพฝั่ง IT ก็เป็นไปด้วยฉันนั้น
แม้ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานจะหาได้จากการทำงานจริง แต่ถ้าเรายังไม่มีประสบการณ์ล่ะ? เพิ่งจบ เพิ่งเรียนต่อป.โทแล้วจบ อยากย้ายสายงาน ฯลฯ การสอบใบเซอร์ หรือ Certification ก็ช่วยรับรองเราเข้าสู่งานนั้นได้ดีขึ้น รวมทั้งกับคนทำงานแล้ว อยากจะอัปเลเวลตัวเองขึ้นไปตาม career path ที่อยู่ในสายงานของตัวเองก็ด้วย
บางบริษัท อาจจะทำแผนการพัฒนาบุคลากร หรือ People Development ไว้ให้ เพื่อให้พนักงานได้รับว่า ตนเองควรได้รับ การ Certified ในเรื่องใด ๆ หรือจากสถาบันไหนบ้าง แต่หลายต่อหลายบริษัทไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้ รวมทั้งพนักงานก็อาจมองไม่เห็นความสำคัญ หรือบางคนอาจรู้สึกว่า ค่าสอบ ค่าติวที่ต้องจ่าย อาจจะไม่คุ้มก็เป็นได้
วันนี้เราเลยเลือกมาให้แล้วสำหรับ 5 สายงานหลักฝั่ง IT มี Certificate / ใบเซอร์ไหนควรค่ากับการได้มา!!!
1. สาย Programmer
แม้โปรแกรมเมอร์จะไม่ต้องเน้นสอบมากเหมือนสายงานอื่น ๆ ของฝั่งไอที และเน้นภาคปฏิบัติในการเขียนโค้ดที่สร้างสรรค์และไม่ติดบั๊ก อย่างไรก็ตาม เรายังอยากแนะนำใบเซอร์ที่คู่ควรได้มาเคียงข้างเหล่าโปรแกรมเมอร์ นั่นก็คือ
- AWS Certified Cloud Practitioner
- AWS Certified Developer
- Certified Scrum Developer (CSD)
- Oracle Certified Professional, Java SE Programmer หากคุณเป็นสาย Java
- Microsoft Certified: Azure Developer Associate หากคุณเป็นสาย .NET
ใครที่สนใจ Cloud หรือ DevOps Engineer ก็ลองพิจารณา Google Cloud Professional Developer ประกอบกันไป
ส่วน Programmer / Developer ระดับสูงขึ้นไป ที่ต้องการโกอินเตอร์ อาจจะต้องลองเล็งใบเซอร์ตัวนี้ไว้นะคะ
- Certified Software Development Professional (CSDP)
- Professional Software Developer Certification (PSD)
- Certified Mobile Application Developer (CMAD)
ในขณะที่ Solution Architect ผู้อาจจะกำลังเล็ง ๆ ใบเซอร์อยู่ เราก็ขอแนะนำ AWS Certified Solutions Architect ซึ่งมีทั้งระดับ Associate ไปจนถึง Professional Level เลย
อ้างอิงเพิ่มเติม: https://www.tealhq.com/certifications/software-developer#certification-1-anchor-link
2. สาย Software Tester / QA
พลาดไปไม่ได้เลยสำหรับสถาบันยอดฮิตที่เหล่า Certified Tester มักมีใบเซอร์กัน ก็คือ International Software Testing Qualifications Board (ISTQB) เริ่มด้วยตัวแรกสุด คือ
- ISTQB Certified Tester Foundation Level (CTFL)
สำหรับ Junior Tester (แต่ข้อสอบได้ชื่อว่าโหดสุด ๆ ) ซึ่งสามารถไต่ลำดับมาได้เรื่อย ๆ ตามความยาก ไปจนยากมาก และใบเซอร์ตัวสูงสุดของสถาบันนี้ก็คือ
- Certified Tester Expert Level Implementing Test Process Improvement (CTEL-ITP-ITPI)
เหมาะสำหรับ Test Manager หรือ Head of QA หรือ Delivery Head ซึ่งเป็น Expert Level Certification โดยคนที่จะสอบได้นั้นต้องผ่าน CTFL (ตัวพื้นฐาน) และ Advanced Level Test Manager หรือ CTAL-TM) และสอบผ่านข้อสอบระดับ Expert ก่อน รวมทั้งสะสมประสบการณ์ในการทำงานไม่ต่ำกว่า 5 ปี
นอกเหนือจาก ISTQB ก็มี Certified Associate in Software Testing (CAST) ที่จัดโดย Quality Assurance Institute (QAI) ซึ่งแบ่งขั้นความยากไปจนถึงระดับ Test Manager ด้วยเช่นกัน
หรือจะเริ่มกับสถาบันสอนทดสอบซอฟต์แวร์ อย่าง International Institute for Software Testing (IIST) ด้วย Certified Software Test Professional -Associate Level (CSTP-A) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่อาจจะไม่ได้จบตรงสาย อยากย้ายสายงานมาทาง Software Tester/QA และต้องการใบเซอร์ที่ได้รับการรับรองสากล
อ้างอิงเพิ่มเติม: https://www.tealhq.com/certifications/software-tester
3. สาย Project Manager
สาย PM นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็น PM จากฝั่งไหน หากคุณเป็นคนฝั่งไอที เติบโตจากการเป็น Developer à System Analyst à Project Leader à Project Manager คุณก็เป็นเหมือนหัวหน้าของเหล่า Dev (Developer) ที่ต้องการคนดูแล ป้อนงาน เป็นเมนเทอร์ รวมถึงเป็นกันชน คอยปกป้องหากพวกเขาเผลอรันโปรแกรมรวน หรือส่งงานไม่ทันวัน deploy ฉะนั้น การจะเป็น Project Manager ที่เหล่า Dev ให้ความเคารพ อาจจะไม่ใช่การการจบสูงหรืออายุมากกว่า แต่เป็นวุฒิภาวะ การผ่านงานเดียวกันมาก่อน และความสามารถในการบริหารโครงการตาม Reasonable Timeframe นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม PM ก็มีใบเซอร์ยอดฮิต (และส่วนใหญ่มีราคาค่อนข้างสูง) เช่นกัน ได้แก่
- Project Management Professional (PMP)
- Certified ScrumMaster (CSM)
- PRINCE2® 7 Practitioner
- PRINCE2 Agile Foundation
ถ้าถามว่า ใบเซอร์ไหนได้รับความนิยมสูงสุด สำหรับปีนี้ เราขอเลือก PMP จาก Project Management Institute (PMI) เพราะไม่ใช่แค่ Project Management/Process แต่ข้อสอบของเขาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Process (50%), People (42%) และ Business Environment (8%) และจะต้องผ่านการสอบ Certified Associate in Project Management (CAPM) มาก่อน ซึ่งรวม Agile Method, Agile Framework, Business Analysis, Predictive plan-based methodologies ไปแล้วด้วย หากใครได้ใบเซอร์ตัวนี้ ก็เหมือนได้ก้าวขาเข้ามายึดตำแหน่ง PM ตัวหลัก รวมถึงใช้การันตีการเลื่อนขั้นได้เลย ทั้งนี้ยังสามารถใช้กับการทำงานในระดับสากลได้อีกด้วย เพราะรองรับหลายภาษา เช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น สเปน เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.pmi.org/certifications/project-management-pmp
4. สาย IT Officer & Manager
คนจบไอทีในแต่ละปีมีเป็นหมื่น ไม่รวมคนที่ทำงานมาบ้าง อยู่ในร้านคอมบ้าง ไปเรียนต่อต่างประเทศบ้าง ทำอย่างไรที่เราจะ stand out ท่ามกลางคนหมู่มากเหล่านี้ได้ เราจึงขอเสนอใบเซอร์ที่คู่ควรกับคนไอที ตั้งแต่ระดับ Basic ไปจนถึงระดับหินสุด ๆ ดังนี้
- CompTIA A+
เป็นใบเซอร์สากลที่รับรองความรู้และทักษะด้านการเป็น IT Support ได้ดี เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใบเซอร์ใบแรกในสายไอที
- ITIL 4 Foundation Level Certification
ตัวต่อไปขอคนที่อยากลงลึกในคอนเซปต์ ITSM ซึ่งทาง ITIL ก็มีตั้งแต่ระดับ Foundation, Practitioner, Intermediate, Expert, ไปจนถึงระดับ Master ซึ่งข้อดีก็คือ ในการทำงานให้กับลูกค้า หรือบริษัทที่มี user จำนวนมาก ITIL ยังเป็นตัวสะท้อนการที่คนคนนั้นมี IT Process ที่ดี ทั้งยังปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการผู้ใช้งานอยู่เสมอ ต่อมาด้วย
- CompTIA ITF+
- CompTIA Server+
ส่วน IT Management เรายังมีตัวเลือกในการสอบเซอร์อีกมากมาย เพื่อทำงาน Operation ได้อย่างมีมาตรฐาน เช่น
- Certified Information Security Manager (CISM)
- Certified Information Systems Auditor (CISA)
- Certified Information Systems Security Professional (CISSP)
- Certified in Risk and Information Systems Control (CRISC)
- Certified Data Privacy Solutions Engineer (CDPSE)
- Certified Cloud Security Professional (CCSP)
- Certified Data Professional (CDP)
- Certified Ethical Hacker (CEH)
- CompTIA Security+
- Google Professional Cloud Architect
5. สาย Network / System
สายนี้มันเป็นสายอาชีพเฉพาะที่มีการเติบโตแยกไปต่างหาก และจะมองข้ามไม่ได้เลยกับผลิตภัณฑ์ของ Cisco และ Microsoft ก็เป็นที่นิยมมากด้วยเช่นกัน เราจึงขอแนะนำ ใบเซอร์ขั้นต้นที่ไม่ว่าบริษัทไหนก็ต้องการ ได้แก่
- Cisco Certified Network Associate (CCNA)
- Cisco Certified Network Professional (CCNP)
ซึ่งมีแยกย่อยอีกหลายสาขา ในสาขาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ CCNA – Routing & Switching และ CCNP – Data Center นั้นเอง
ส่วนใบเซอร์ระดับยากมาก / เลเวลตัน ของ Cisco ก็คือ
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE)
- Cisco Certified Design Expert (CCDE)
- Cisco Certified Architect (CCAr) ซึ่งเป็นเลเวลสูงสุดนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://networkel.com/cisco-certification-path/
ในฝั่งของ Microsoft ก็ไม่น้อยหน้า ใน Job Ads ที่เราเห็น มักจะมี require MCSE (Microsoft Certified Solutions Expert) หรือ MCSA (Microsoft Certified Solutions Associate) อยู่ไม่น้อย แต่ถ้าหาคอร์สเรียน คอร์สสอบไม่ได้ ไม่ต้องตกใจไป เพราะ Certificate ของ Microsoft เหล่านี้ รวมถึง MCSD (Microsoft Solutions Developer) ได้ถูกปลดระวางไปเรียบร้อย ตั้งแต่ช่วงปี 2020/21 หากใครอยากสอบ ทาง Microsoft ก็มีตัวตายตัวแทน คือ เหล่า Microsoft Azure ที่เริ่มต้นตั้งแต่
- Azure Fundamentals
- Azure Administrator Associate
ไปจนถึง Information Protection and Compliance Administrator Associate ที่เป็นตัวสูงสุดฝั่ง Security (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ https://query.prod.cms.rt.microsoft.com/cms/api/am/binary/RE2PjDI )
นอกจากนี้งานสาย Network & System ก็มักต้องการ Certificate ของ VMWare ด้วย เช่น
- VMware Certified Professional – Data Center Virtualization 2023 (VCP-DCV 2023)
หรือใครที่ไม่ฝักฝ่ายยี่ห้อใดเป็นหลัก เราขอแนะนำ CompTIA Network+ ซึ่งตัวนี้ จะเป็นขั้นกว่าของ CompTIA A+ ฉะนั้น หากจะสอบ ควรจะผ่านตัวนี้มาก่อน โดยที่เนื้อหาและระดับใกล้เคียงกับ CCNA
สาย Security ไม่ควรพลาดกับ CompTIA Security+ และ CompTIA CYSA+ (Cybersecurity Analyst) ที่ติด 20 Top Paying IT Certificate คาดการร์ปี 2024 จาก https://www.skillsoft.com/blog/top-paying-it-certifications ด้วย
ลืมไม่ได้เลยในกลุ่ม Amazon และ Google Cloud เราขอเสนอ
- AWS Certified Cloud Practitioner
- AWS Solution Architect Associate
- AWS Certified Advanced Networking – Specialty
- AWS Security Specialty
- Google Cloud – Associate Cloud Engineers
- Google Cloud – Professional Cloud Security Engineer
- Google Cloud – Professional Cloud Network Engineer
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://d1.awsstatic.com/training-and-certification/docs/AWS_certification_paths.pdf
https://cloud.google.com/learn/certification?hl=en#why-get-google-cloud-certified
จะเห็นแล้วว่า มีใบเซอร์มากมายในโลกเทคโนโลยี แถมยังอัปเดตอยู่ตลอดด้วย อะไรที่เคยทันสมัยในอดีต ปัจจุบันอาจล้าสมัยไปแล้ว และมีบางสายงานก็สามารถ cross กันได้ (อย่างเช่นการมีความรู้เรื่อง AWS Cloud) ฉะนั้นการสอบเซอร์ไว้ ก็เป็นเรื่องที่คุ้มค่าแก่การลงทุน เรามักจะเห็นว่าคนไอทีแอคทีพหาความรู้ให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลา หากไม่ได้สอบใบเซอร์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลจากอะไรก็ตาม จะเป็นความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ค่าสอบ อุปสรรคทางภาษา แต่พวกเขาก็ยังหมั่นเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเอง เช่น เข้าสัมมนา ฟังพอดคาสต์ ดู YouTube ของ Guru ที่มาให้ความรู้ อยู่เช่นกัน เราจึงสรุปได้ว่า การมีใบเซอร์ก็เป็นอีกหนึ่งใบเปิดทางในการหางาน หรือทำงานให้ดีขึ้น แต่ยังมีอีกหนทางหนึ่งก็คือสะสมประสบการณ์จริงนั่นเอง
หวังว่าทุกคนจะมีอาชีพตามที่ใฝ่ฝัน หมั่นหาความรู้ไปด้วยกัน
ติตดามอ่านบทความที่เกี่ยวกับอาชีพและการทำงานทั้งหมดของเราได้ที่ Career Advice
และหากคุณเป็นคนสาย IT หมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ชอบงานท้าทาย ต้องการแสดงฝีมือ และกำลังมองหาโอกาสดีๆให้ตัวเอง คลิกดูงานที่น่าสนใจจากเรากว่า 200 ตำแหน่งได้ที่นี่ https://www.aware.co.th/it-jobs/
- Reverse Mentoring เพราะเราทุกคนให้ความรู้และมุมมองที่แตกต่างกันได้ - มิถุนายน 20, 2024
- Certificate ที่น่าสอบเพื่อตอบโจทย์การทำงานสาย IT ในปี 2024 - มิถุนายน 14, 2024
- อยากเป็น Software Tester / QA Tester ต้องเริ่มอย่างไร - มกราคม 8, 2024
- สัมภาษณ์อย่างไรให้ได้งาน เราช่วยคุณเตรียมตัวได้นะ - ธันวาคม 7, 2023
- อยากเพิ่มทักษะให้ตัวเอง – ตัดสินใจอย่างไรระหว่างเลือกเรียนภาษาที่สามหรือภาษาคอมพิวเตอร์ ? - กุมภาพันธ์ 7, 2020
- วิธีเลือกกองทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยง - มกราคม 13, 2020
- บริษัทคัดเลือกผู้สมัครอย่างไร – ทำไมบริษัทไม่รับผมเข้าทำงาน? - กันยายน 23, 2019
- ไม่ใช่แค่คุณลุงคุณป้า แต่คนทำงานอย่างเราเองก็ต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุด้วยเช่นกัน - สิงหาคม 14, 2019
- แนะนำวิธีการเก็บเงินสไตล์นักเศรษฐศาสตร์ที่คุณเองก็ทำได้ - กรกฎาคม 22, 2019
- ประโยชน์ในการเป็นพนักงาน IT Outsource แบบสัญญาจ้าง (ตอนที่ 3) - พฤษภาคม 10, 2019