มิถุนายน 18, 2019
Pride Month, Pride to be LGBTQ+ รู้จักบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในวงการเทคโนโลยีของโลก
ในปัจจุบันเราคงได้ยินเรื่องราวการเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ในด้านการทำงานมากขึ้น และในหลายๆครั้งกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศนี่แหละที่เป็นหัวเรือสำคัญในการขับเคลื่อนบริษัทให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นพวกเขายังเป็นกระบอกเสียงในเรื่องความหลากหลายทางเพศอีกด้วย
แม้แต่ในวงการเทคโนโลยีก็เช่นกัน ก่อนหน้านี้หลายๆคนอาจจะคิดว่าในวงการเทคโนโลยีนั้นจะปิดกั้นผู้หญิงแต่เราก็ได้มีบทความในเรื่องอิทธิพลของผู้หญิงในวงการเทคโนโลยีออกมาแล้ว (คลิกอ่านได้ที่นี่) แล้วถ้าเป็นเรื่องราวของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในวงการเทคโนโลยีล่ะ? จะเป็นอย่างไร? ในวันนี้เราเลยแปลบทความบางส่วนจาก Business Insider มาให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงประสบการณ์ของผู้ที่เป็น LGBTQ+ ในวงการเทคโนโลยีกัน พร้อมกันนั้นยังเป็นการเฉลิมฉลองให้กับ Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศอีกด้วย
Tim Cook – ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่ง Apple
Photo Credit: Digitalmediawire
Cook ถือเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลในวงการเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้ เพราะเขาเป็นถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของบริษัทชื่อดังอย่าง Apple ซึ่งได้รับตำแหน่งในเดือน สิงหาคมปี 2011 และก่อนหน้าที่จะดำรงตำแหน่งนี้เขาก็ได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ของบริษัท Apple มาก่อนด้วย
Cook ได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่าเขาเป็นเกย์ในปี 2014 ในบทความส่วนตัวของเขากับนิตยสาร Bloomberg Businessweek กล่าวว่าในขณะที่เขาต้องการดำเนินชีวิตแบบส่วนตัว (ไม่เปิดเผย) นั้น ในวันหนึ่งเขาก็รู้สึกว่าเขาต้องทำหน้าที่โดยการแสดงตัวออกมาเพื่อที่จะช่วยเหลือชุมชนของเกย์
เขาได้เขียนในบทความของตนเองว่า “การเป็นเกย์นั้น มันยากและอึดอัดในบางครั้ง แต่สิ่งเหล่านั้นก็มอบอะไรหลายๆอย่างให้กับเขา ไม่ว่าจะเป็นความมั่นใจที่จะเป็นตัวของตัวเองเพื่อที่จะเดินไปตามเส้นทางที่ตัวเองกำหนดไว้ และมากไปกว่านั้นสิ่งเหล่านั้นยังทำให้เขามั่นใจที่จะเอาชนะความทุกข์และความเกลียดชังไปได้” และเขายังได้เขียนต่อไปอีกว่า “การเป็นเกย์นั้นมันทำให้เขาไม่มีความเกรงกลัวต่อสิ่งใดๆ และมันมีประโยชน์มากเมื่อคุณได้ดำรงฐานะ CEO แห่งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple”
Chris Hughes – หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook
Photo Credit: CNBC
นอกจากที่ Hughes จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Facebook เขายังดำรงตำแหน่งในฐานะบรรณาธิการของนิตยสารชื่อดังอย่าง The New Republic อีกด้วย และมากไปกว่านั้นในเวลานี้เขายังเป็นประธานร่วมของโปรเจกต์ที่มีชื่อว่า Economic Security Project ซึ่งเป็นโปรเจกต์เกี่ยวกับ Financial Stability Initiative
ในช่วงต้นปี 2012 Hughes ได้ออกหนังสือที่มีชื่อว่า Fair Shot: Rethinking Inequality and How We Earn ซึ่งพูดถึงความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนั้น Hughes ได้แต่งงานกับนักกิจกรรมทางการเมืองชื่อ Sean Eldridge ซึ่ง Eldridge เป็นถึงอดีตผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองสำหรับกลุ่มผู้สนับสนุนการสมรสเพศเดียวกัน โดยมีชื่อกลุ่มว่า Freedom to Marry
สำนักข่าวออนไลน์ชื่อดังอย่าง ฮัพโพสต์ (HuffPost) ได้กล่าวถึง Hughes ว่า “นอกจากที่ Hughes จะเปิดตัวว่าตนเองเป็นเกย์แล้วนั้น เขายังมีส่วนช่วย Eldridge ผู้ซึ่งเป็นคนรักของเขาในการต่อสู้เรื่องการสมรสเพศเดียว (same-sex marriage) กันอีกด้วย”
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์สุดโด่งดังอย่าง นิวยอร์กไทม์ (NYTimes) ได้เขียนถึง Hughes ว่า “ตั้งแต่ที่ Hughes ย้ายมาที่ New York ในปี 2009 เขาและคนรักของเขาเป็นแรงสำคัญในวงการเมืองเลยทีเดียว เพราะพวกเขากลายมาเป็นผู้ระดมทุนในประเด็นที่พวกเขาสนับสนุนซึ่งรวมถึงประเด็นด้านสิทธิพลเมืองของเกย์ด้วย”
Lynn Conway – ผู้เป็นนักออกแบบไพโอเนียร์ชิปให้กับ IBM
Photo Credit: Thenewshouse
Conway ได้รับการไว้วางใจให้เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในฐานะวิศวกรไพโอเนียร์ของเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Supercomputer และ การออกแบบไมโครชิป
ในปี 1960 เธอได้ทำงานกับบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังอย่าง IBM ในฐานะผู้ออกแบบ Supercomputer และ 10 ปีต่อมาเธอก็ได้ทำงานงานด้านการออกแบบชิปให้กับบริษัท Xerox Palo Alto Research Center (PARC)
อย่างไรก็ตาม ตอนที่เธอทำงานอยู่ที่ IBM ตำแหน่งการทำงานของเธอนั้นแม้จะสำคัญสักเพียงใดแต่ก็ไม่ได้เป็นที่ตระหนักถึงมากนัก และเมื่อเธอเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ไปสู่การเป็นผู้หญิง (ในเวลานั้นเธอยังคงทำงานให้กับ IBM อยู่) แต่ผลที่เกิดขึ้นคือเธอได้ถูกทาง IBM ไล่ออกจากงาน
เธอเริ่มเปิดเผยตนเองในฐานะการเป็นผู้หญิงข้ามเพศ (Trans woman) ในช่วงต้นปี 2000 และเธอได้ใช้ตำแหน่งของเธอเพื่อเป็นเสียงสนับสนุนให้กับชุมชนคนข้ามเพศ และมากไปกว่านั้นเธอยังต่อสู้อย่างแข็งขันกับความเชื่อจากกลุ่มจิตเวชศาสตร์ที่กล่าวว่ากลุ่มคนข้ามเพศนั้นเป็นอาการผิดปกติทางจิต
ในการสัมภาษณ์กับสำนักข่าว ABC News เธอได้กล่าวว่า “เมื่อฉันได้เริ่มตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงเพศให้ตรงกับจิตใจของฉันแล้วนั้น คนรอบตัวฉันต่างบอกกับฉันว่า ฉันน่ากลัวและฉันอาจจะต้องจบชีวิตลงอยู่ในศูนย์ดูแลคนวิกลจริตที่ไหนสักแห่ง” และเธอได้โต้กลับว่า “พวกเขาเหล่านั้นคิดผิด เพราะในตอนนี้เธอมีชีวิตที่ดีและมีความสุข และฉันก็ยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย”
David Blumberg – ผู้ก่อตั้ง Blumberg Capital
Photo Credit: Businessinsider
ในปี 1991 Blumberg ได้ก่อตั้งบริษัทจัดการกองทุน ที่มีชื่อว่า Blumberg Capital และในช่วงระยะแรก Blumberg ได้มุ่งไปในเรื่องของ การประกอบการ เทคโยโลยีด้านการเงิน และ การพาณิชย์ และบริษัทของเขาได้รับการลงทุนมากกว่า $500 ล้าน (ประมาณ 15,571,750,000 บาทไทย) ในด้านบริษัทเทคโลยี
Blumberg เป็นสมาชิกของพรรค Republican และเป็นผู้พูดสนับสนุนให้กับ Donald John Trump (นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศสหรัฐอเมริกา) พร้อมกันนั้นเขาก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับคนรักของเขา (ชาย-ชาย) ใน San Francisco พร้อมกับลูกที่น่ารัก 2 คน
Blumberg ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Boston Business Journal ในปี 2018 ว่า “Silicon Valley เป็นสถานที่ที่ให้โอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเรียนรู้ที่จะแตกต่าง” และเขาได้กล่าวต่อไปว่า “ถึงแม้ว่าการเป็นเกย์จะยังคงดูแปลกในโลกของ การร่วมทุนในธุรกิจ หรือ Venture Capital (VC) แต่ผมก็ไม่เคยรู้สึกถึงการแบ่งแยก (Discrimination) และท้ายที่สุด ผมค้นพบว่าในโลกแห่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนั้นเป็นโลกแห่งการเปิดใจและยอมรับในตัวผม”
Peter Arvai – ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Prezi
Photo Credit: Commons.wikimedia.org
ในปี 2009 Arvai ได้เป็นผู้ช่วยก่อตั้งโปรแกรมทำพรีเซนต์เตชั่นออนไลน์ชื่อดังอย่าง Prezi และเขายังเป็นผู้ที่เปิดเผยการเป็นเกย์คนแรกในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) สัญชาติฮังการี ซึ่งทำให้เขาเป็นผู้สร้างความหลากหลายให้เป็นส่วนประกอบของบรรยากาศการทำงานที่ Prezi
เขาได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์ Financial Times (2018) ว่า “ผมรู้สึกว่าความท้าทายในการเปิดเผยว่าผมเป็นเกย์นั้นมันจะทำให้ผมกลายเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้น” และเขายังกล่าวเพิ่มเติมว่า “สิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ทุกๆคนสามารถทำได้เพื่อสนับสนุนการเปิดกว้างก็คือการเป็นคนที่เปิดกว้างให้กับอัตลักษณ์ของตัวเอง พร้อมกันนั้นก็ต้องเป็นคนที่เปิดกว้างให้กับอัตลักษณ์ของผู้อื่นด้วย”
Ann Mei Chang – อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยแห่ง USAID
Photo Credit: Sardertv
Chang ได้เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัย (CIO) แห่ง USAID หรือที่เรียกกันว่าหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ ที่จะรับผิดชอบต่อการให้การสนับสนุนระหว่างประเทศพลเรือนและความช่วยเหลือด้านการพัฒนา ซึ่ง Chang ดำรงตำแหน่ง CIO จนถึงเดือนมกราคม ปี 2017
ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ USAID นั้น Chang ได้กลายเป็นคณะกรรมการบริหารคนแรกของ US Global Development Lab หรือ ศูนย์กลางนวัตกรรมสำหรับ USAID และเธอยังได้ออกหนังสือในด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มีชื่อว่า Lean Impact
ก่อนหน้าที่เธอจะมาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการผู้บริหารของ US Global Development Lab นั้น เธอเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารที่ Mercy Corps และ ยังเคยเป็นที่ปรึกษาอาวุโสเกี่ยวกับผู้หญิงและเทคโนโลยีที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ยิ่งไปกว่านั้นเธอยังเคยเป็นวิศวกรในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทชื่อดังหลายๆบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Apple; Intuit; และ Google
Chang ได้กล่าวกับนิตยสาร Fortune (2015) ว่าการเป็นเลสเบี้ยนในแผนกเทคโนโลยีนั้นบางครั้งก็เป็นประโยชน์เพราะว่าเธอจะได้รับการปฏิบัติเหมือนกับผู้ชายทั่วไป
และเธอยังได้กล่าวต่ออีกว่า “การที่พวกเขาปฎิบัติต่อคุณเหมือนผู้ชายคนหนึ่งนั้น มันจะทำให้ความกดดันด้านการปฎิบัติตัวต่อเพศตรงข้ามน้อยลง เพราะการที่คุณต้องทำงานกับเด็กผู้ชายเนิร์ดๆที่ไม่ค่อยประสีประสากับการปฎิบัติตัวกับเพศหญิงนัก การที่เป็นเลสเบี้ยนมันก็ทำให้อะไรๆง่ายขึ้น”
แล้วคุณล่ะ? มีประสบการณ์เกี่ยวกับ LGBTQ+ ในที่ทำงานบ้างหรือเปล่า? เราเชื่อว่าเมื่อคุณอ่านบทความนี้จบแล้วคุณจะได้รับแรงบันดาลใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น และไม่ว่าคุณจะเป็น LGBTQ+ หรือไม่ คุณก็สามารถเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงที่สำคัญในการสนับสนุนเรื่องสิทธิความเท่าเทียมของ LGBTQ+ ได้ และผู้เขียนเชื่อว่าเมื่อความเท่าเทียมเกิดขึ้นในสังคมของเราแล้ว สังคมของเราจะเป็นสังคมนี่น่าอยู่มากยิ่งขึ้นครับ
- Business Analyst ทำอะไร? สำคัญอย่างไรในอาชีพสายไอที? - พฤษภาคม 12, 2023
- 4 แนวทางเอาชนะ Burnout ในการทำงานสาย Tech - มีนาคม 10, 2023
- 5 อุปสรรคของผู้หญิงในการทำงานสาย Tech ในปัจจุบัน - มีนาคม 8, 2023
- Aware สานฝันและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการย้ายสายงานมาเป็น Developer (ตอนที่2) - มกราคม 17, 2023
- Aware สานฝันและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการย้ายสายงานมาเป็น Developer (ตอนที่1) - มกราคม 17, 2023
- จบไม่ตรงสายจะเปลี่ยนสายงานมาเป็น Developer ได้อย่างไร - มกราคม 17, 2023
- เราจะสร้าง Digital Footprint ที่เป็นมิตรต่อการสมัครงานได้อย่างไร - มีนาคม 29, 2022
- Digital Footprint ร่องรอยบนดิจิทัลที่เราทิ้งไว้สำคัญแค่ไหน - มีนาคม 29, 2022
- Hybrid Working – รูปแบบใหม่ของการทำงาน | Aware Group - ธันวาคม 7, 2021
- บางนา มามะ จะพาไปดู - พฤศจิกายน 12, 2021