ตุลาคม 22, 2019
ช่วงเวลาที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการทำงานนานแค่ไหนกัน?
ในการทำงานตลอดวัน 8-9 ชั่วโมง คุณคิดว่าช่วงเวลาที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้นเกิดขึ้นกี่ชั่วโมงกันแน่? เกิดขึ้นเมื่อไหร่ระหว่างเช้าหรือบ่าย?
บางคนอาจสังเกตุว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดเกิดขึ้นตอนเช้า ทำให้สามารถเคลียร์งานกองโตจบไปได้ก่อนเที่ยง แต่พอตกบ่ายมาเท่านั้นแหละทุกอย่างยืดย้วยอืดอาด ทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้าน่าเหนื่อยหน่ายไปหมด แตกต่างจากช่วงเช้าอย่างสิ้นเชิง
เรื่องนี้ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะเคยมีผลสำรวจที่น่าสนใจจากฝั่งอังกฤษ โดย www.vouchercloud.com ที่สำรวจพนักงานออฟฟิศจำนวน 1,989 คนที่มีช่วงเวลาทำงาน 8-9 ชั่วโมง ว่าพวกเขาคิดว่าตัวเองเป็นคนที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งวันหรือไม่? ผลที่ได้คือ 79% ตอบว่าไม่ และมีเพียง 21% เท่านั้นที่เชื่อว่าพวกเขามีประสิทธิภาพตลอดเวลาทำงานทั้งวันจริงๆนะเออ
แล้วพอถามต่อไปอีกว่า พวกเขาพอจะจำกัดระยะเวลาที่คิดว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้หรือไม่? ยาวนานแค่ไหน? โดยส่วนใหญ่ที่ตอบจะอยู่ในระยะเวลาแค่ 2 ชั่วโมง 53 นาที ฉะนั้นตรงนี้น่าจะกลายเป็นจำนวนเวลาที่พวกเราส่วนใหญ่อาจจะเป็นอย่างนั้นเช่นกัน
นอกจากนี้ผลสำรวจยังถามอีกด้วยว่า พวกเขาเสียเวลาทำงานไปกับเรื่องไหนบ้าง? คำตอบที่ได้คือ
- อ่านข่าวออนไลน์ ใช้เวลาโดยประมาณ 1 ชั่วโมง 5 นาที
- เข้า social media ใช้เวลาโดยประมาณ 44 นาที
- พูดคุยเกี่ยวกับการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน ใช้เวลาโดยประมาณ 40 นาที
- หางานใหม่ ใช้เวลาโดยประมาณ 26 นาที
- พักสูบบุหรี่ ใช้เวลาโดยประมาณ 23 นาที
- โทรศัพท์หาแฟน/ เพื่อน ใช้เวลาโดยประมาณ 18 นาที
- ชงเครื่องดื่ม ใช้เวลาโดยประมาณ 17 นาที
- ส่งข้อความ ใช้เวลาโดยประมาณ 14 นาที
- พักทานขนม ใช้เวลาโดยประมาณ 8 นาที
- ทำอาหารกลางวันในออฟฟิศ ใช้เวลาโดยประมาณ 7 นาที
แล้วคุณล่ะคะ ใช้เวลาไปกับการพักเบรกแบบไหนบ้าง?
นอกจากผลสำรวจจาก www.vouchercloud.com แล้วยังมีคุณหมอ Josh Davis, Ph.D. ผู้เขียนหนังสือ Two Awesome Hours: Science-Based Strategies to Harness Your Best Time and Get Your Most Important Work Done. (วิธีทำผลงานให้ดีเยี่ยมและมีประสิทธิผล โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมงในแต่ละวันให้คุ้มค่าที่สุด)
ที่เขียนแนะนำไว้ว่า ในแต่ละวันชีวิตการทำงานของคนเราล้วนมีงานมากมายที่ต้องทำ งานทุกอย่างดูเหมือนเป็นเรื่องเร่งด่วนและต้องทำให้ได้ผลที่ดี แต่เรามักตอบสนองงานที่ล้นมือด้วยการบังคับตัวเองให้ทำงานโดยไม่หยุดพัก เพื่อให้ใช้ “วัน” ของเราอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หรือไม่อย่างนั้นก็ใช้เวลาทำงานมากขึ้น และขอให้คนอื่นที่ทำงานให้เราทำแบบนั้นด้วย การตอบสนองเหล่านี้มาจากความเชื่อที่ว่า การจัดการปริมาณงาน คือ การเลิกเสียเวลาและควรจะมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ซึ่งความเชื่อนี้มาจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำงานของสมอง แต่วิธีที่จะทำให้เรามีผลงานที่ดีและมีประสิทธิผล คือการทำงานให้สอดคล้องกับระบบการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำให้สามารถเข้าใจงานที่กำลังทำอยู่ได้อย่างถ่องแท้ มีแรงจูงใจในการทำงาน ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ แก้ไขปัญหาได้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์และตัดสินใจได้ดี วิธีการนี้ช่วยให้คนที่มีภารกิจยุ่งเหยิง สร้างเงื่อนไขให้ตัวเอง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับที่ดีเยี่ยม โดยใช้เวลาเพียงวันละ 2 ชั่วโมงเท่านั้น และได้แนะนำแนะนำกลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ ที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถบริหารจัดการตนเอง โดยอ้างอิงผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่เชื่อถือได้ มาจัดทำแนวทางวิธีการและกลยุทธ์ เพื่อการทำงานได้ประสิทธิผลสูงสุด
กลยุทธ์ 1 : รับรู้เมื่อถึงช่วงเวลาที่คุณมีโอกาสตัดสินใจ ว่าจะเลือกทำงานชิ้นไหน
กลยุทธ์ 2 : บริหารจัดการพลังงานสมองของคุณ เพื่อเลือกให้ได้ว่าจะทำงานชิ้นใด
กลยุทธ์ 3 : หยุดต่อสู้กับสิ่งที่ทำให้คุณไขว้เขว เรียนรู้วิธีที่จะนำความสนใจกลับมายังจุดเดิม
กลยุทธ์ 4 : ทำให้ร่างกายและความคิดของคุณมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น
กลยุทธ์ 5 : จัดพื้นที่ทำงานใหม่เพื่อช่วยให้คุณทำงานได้ดี
(ใครอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมลองหาซื้อมาอ่านต่อได้นะคะ)
จากบทความทั้งหมดหากมองให้ดี เราจะพบว่าตลอดเวลางาน 8-9 ชั่วโมง เราจะทำงานได้ดีที่สุดเพื่อแก้ปัญหาและสะสางงานกองโตได้อย่างมีประสิทธิผลภายในเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ แต่เชื่อเถอะว่ามันส่งผลให้งานออกมาดีมากด้วยเช่นกัน ช่วงที่ดีที่สุดควรเป็นตอนร่างกายเราพร้อมและตื่นตัวที่สุด จะช่วยให้เรามีสมาธิมากที่สุด และถึงแม้ว่าหมดเวลานั้นไปแล้ว เรายังคงต้องทำงานต่อเนื่องต่อไปแม้ประสิทธิภาพอาจไม่เหมือนช่วงที่ใช้ไปแล้ว อย่างไรก็ตามเราทุกคนต้องการเวลาพักผ่อนจากหน้าจอแม้ในเวลาทำงานนั่นเอง เพื่อเพลิดเพลินกับสิ่งอื่นชัวครู่ หยุดพักสมองชั่วคราวไปสู่สิ่งอื่นๆรอบตัว แล้วค่อยกลับมาทำงานต่ออย่างสบายใจ
นอกจากการพักผ่อนทั่วไปแล้ว การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง รวมไปถึงการออกกำลังกายก็สำคัญเช่นกัน หากคุณรู้สึกว่าเริ่มปวดเมื่อยเนื้อตัวหลังจากการทำงานหนักมาทั้งวัน คุณควรเริ่มยืด เหยียด และออกกำลังกายได้แล้วตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพทุกปีเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายของเรายังคงแข็งแรงดีอยู่ รู้จักร่างกายของเราให้มากขึ้น ใส่ใจมากขึ้น รู้ว่าเราต้องลด หรืองดอาหารประเภทใดให้มากขึ้น
สำหรับอะแวร์เรามีสวัสดิการสนับสนุนให้พนักงานมีสุขภาพดี มากกว่า 2 รายการ ทั้งโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับพนักงานตรวจฟรี และคนในครอบครัวของพนักงานได้อัตราพิเศษ ค่าสนับสนุนการเล่นฟิตเนสส่วนบุคคล แถมยังมีค่าสมาชิกฟิตเนสที่มีแต่ชาวอะแวร์เท่านั้นจะได้ราคาพิเศษแสนคุ้มนี้ไป นอกจากนั้นเรามีประกันสุขภาพที่มีให้พนักงานทุกคน รวมไปถึงการสนับสนุนให้พนักงานมีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี ได้แก่ ยินดีให้จัดแต่งโต๊ะทำงานตามความพอใจ มีพื้นที่ผ่อนคลายให้ทุกคนมาใช้ร่วมกันได้ มีหมอนวดมาให้บริการในช่วงเวลางานสัปดาห์ละสองวัน มีเตียงนอนให้พนักงานได้แวะมาเอนกายพักผ่อนยามเหนื่อยล้า มีกิจกรรมสนุกๆให้เพื่อนพนักงานได้เข้าร่วมตลอดทุกเดือน
เพราะเราเข้าใจคนทำงาน เชื่อว่าทุกพลังการทำงานมีความหมาย จึงควรได้รับการดูแลและตอบแทนอย่างดีที่สุดเช่นกัน
หากคุณเป็นคนสาย IT หมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ชอบงานท้าทาย และกำลังมองหาโอกาสดีๆให้ตัวเอง คลิกดูงานที่น่าสนใจจากเรากว่า 300 ตำแหน่งได้ที่นี่ https://www.aware.co.th/it-jobs
อ่านบทความทั้งหมดของเราที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เส้นทางอาชีพด้านไอที เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ที่นี่ https://www.aware.co.th/it-jobs/blog/
- Business Analyst ทำอะไร? สำคัญอย่างไรในอาชีพสายไอที? - พฤษภาคม 12, 2023
- 4 แนวทางเอาชนะ Burnout ในการทำงานสาย Tech - มีนาคม 10, 2023
- 5 อุปสรรคของผู้หญิงในการทำงานสาย Tech ในปัจจุบัน - มีนาคม 8, 2023
- Aware สานฝันและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการย้ายสายงานมาเป็น Developer (ตอนที่2) - มกราคม 17, 2023
- Aware สานฝันและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการย้ายสายงานมาเป็น Developer (ตอนที่1) - มกราคม 17, 2023
- จบไม่ตรงสายจะเปลี่ยนสายงานมาเป็น Developer ได้อย่างไร - มกราคม 17, 2023
- เราจะสร้าง Digital Footprint ที่เป็นมิตรต่อการสมัครงานได้อย่างไร - มีนาคม 29, 2022
- Digital Footprint ร่องรอยบนดิจิทัลที่เราทิ้งไว้สำคัญแค่ไหน - มีนาคม 29, 2022
- Hybrid Working – รูปแบบใหม่ของการทำงาน | Aware Group - ธันวาคม 7, 2021
- บางนา มามะ จะพาไปดู - พฤศจิกายน 12, 2021