พฤษภาคม 10, 2019
ประโยชน์ในการเป็นพนักงาน IT Outsource แบบสัญญาจ้าง (ตอนที่ 1)
*เนื้อหาโดย Richard Andrew Ian Cowley | Organizational Development Director | Aware Group
ไม่ว่าจะเป็นการทำงานรูปแบบใด ก็ให้คุณประโยชน์กับผู้ทำงานและนายจ้างทั้งนั้น
วันนี้เราจะมาบอกเล่าถึงข้อเท็จจริงและความคิดเห็นในการทำงาน IT Outsource แบบสัญญาจ้างกัน
ในตอนแรกนี้ เราจะพิจารณาถึงลักษณะและระยะเวลาการทำงานที่สัมพันธ์กับความก้าวหน้าในอาชีพการงานของคุณ ด้วยประสบการณ์การทำงานในรูปแบบของงานประจำและสัญญาจ้างมาถึง 40 ปี ผมได้ทำงานทั้งงานประจำสำนักงาน พนักงานฝึกหัด งานชั่วคราว งานพาร์ทไทม์ งานอิสระ และแน่นอนว่ามีงานแบบ Outsource ซึ่งก็คือ การเป็นตัวแทนทำงานภายใต้บริษัทหนึ่ง แต่เข้าไปนั่งทำงานที่บริษัทลูกค้านั่นเอง
เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้น ผมจะนำเสนอข้อดีและข้อเสียของการเป็นพนักงาน Outsource ให้พวกคุณได้เห็นและพิจารณาถึงตัวงานได้ชัดเจนขึ้น ผมหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่า การทำงานแบบใดเหมาะกับคุณที่สุด
คติเตือนใจแรกที่ผมอยากจะบอกกับคุณคือ คุณไม่จำเป็นต้องฟังหรือทำตามคนอื่น เพราะพวกเขาไม่ใช่คุณ และคุณเป็นคนพิเศษ คุณแตกต่าง และคุณไม่เหมือนใคร ตัวคุณเองมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่แตกต่างจากคนอื่น เพราะฉะนั้นพวกเขาคงไม่อาจเข้าใจคุณหรือตัดสินแทนคุณได้อย่างสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณยังคงเผชิญสถานการณ์ทางการเงิน การงาน ความสามารถ ความต้องการ และบุคลิกนิสัยที่แตกต่างไปจากพวกเขา
ผมขอเสนอแง่คิดในเรื่องต่างๆของงานประจำกับงานสัญญาจ้าง IT Outsource ดังต่อไปนี้
1. Career Path หรือเส้นทางสายอาชีพ คือ เราต่างรู้ว่าการทำงานประจำนั้น บริษัทมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของคุณ หัวหน้าของคุณหรือแม้กระทั่งฝ่ายพัฒนาบุคคลากรจะต้องคอยสอดส่อง ดูแล และจัดการให้คุณเติบโตในทางที่คุณถนัดหรือไปต่อได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งและระดับในการงานก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคุณอยู่ดี
แต่เมื่อคุณมาทำงานสาย Outsource มักจะไม่มีบริษัทไหนช่วยเรื่องความก้าวหน้าทางสายอาชีพของคุณอย่างจริงจัง ซึ่งทำให้คุณต้องขวนขวายเอาเองในการเลื่อนขั้นหรือเพิ่มเงินเดือน ฉะนั้นหากคุณใฝ่ฝันจะเป็น Outsource ของบริษัทใด คุณควรหาบริษัทหรือบุคคล ที่คุณเรียกว่า Recruiter ที่ ห่วงใย ในเส้นทางสายอาชีพของคุณอย่างจริงจัง
2. ระยะเวลาจ้างงานของสัญญา คุณมักเข้าใจว่า งานประจำ คือ งานที่คุณสามารถทำไปนานเท่าใดก็ได้ อาจทำงานเดิมๆแต่ได้เลื่อนขั้น และใช้เวลาสองปีเพื่อเก็บประสบการณ์ก่อนที่จะออกไปหางานใหม่ (สถิติทางฝ่ายบุคคล) แต่ในขณะเดียวกัน การทำงานแบบเป็นสัญญาจ้าง Outsource มีระยะเวลาชัดเจนอยู่แล้วตามในสัญญา และตามการประเมินงานของโปรเจ็คนั้นๆ ระหว่าง 3 เดือน ถึง 1 ปี การจ้างงานเช่นนี้อาจทำให้บางคนเห็นถึงข้อดีว่า “งานนี้หรือโปรเจ็คนี้เหมาะกับคุณหรือไม่?” แต่ก็อาจทำให้บางคนรู้สึกไม่มั่นคง และเริ่มหางานใหม่เมื่อใกล้จะจบโปรเจ็คหรือหมดสัญญาในที่สุด
ฉะนั้นผู้ที่ต้องการงานสายนี้จะต้องพาตัวเองไปหาบริษัทที่มีการส่งงานให้กับลูกค้าหลากหลายบริษัทและหลากหลายประเภทเพื่อที่ตนเองจะได้ไม่ต้องวิ่งหาที่ทำงานใหม่บ่อยๆ หรือเรียกง่ายๆว่า “หาหัวใหม่” เพื่อที่ตัวเขาเองจะต่อยอดและต่อติดกับหน้าที่ให้มีความเจริญก้าวหน้าได้เช่นกัน ในขณะที่บางคนอาจจะพอใจที่จะ ‘ เปลี่ยนหัว’ ไปเรื่อยๆตราบใดที่เงินที่ได้รับในแต่ละเดือน ยังทำให้ตัวเองพึงพอใจอยู่
แต่ทว่าพวกเขาอาจจะลืมคิดถึง Portfolio ของตัวเองไปที่แสดงให้เห็นความโลดโผนของการย้ายที่ทำงาน และทำให้บางองค์กรที่ยังไม่เข้าใจงานลักษณะนี้มองว่าตัวคุณเองไม่อดทนและเปลี่ยนงานบ่อย หรือแม้แต่มองว่าคุณเป็นคนเหลาะแหละ เอาแน่เอานอนไม่ได้ หรือแย่ที่สุดก็คือ เป็นคนเป็นแก่รายได้เป็นหลักนั่นเอง
3. ลักษณะงานของ Outsource สำหรับการทำงานแบบประจำ คุณจะได้ทำงานหลากหลายรูปแบบ การเปลี่ยนหน้าที่ การได้รับการฝึกให้ทำในหลายๆอย่าง เพื่อคุณจะได้รู้ว่าแท้ที่จริงคุณชอบอะไร งานชนิดไหน และถนัดอะไรมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณก็มักจะได้รับการมอบหมายงานในมุมมองหรือรูปแบบเดิมๆ
ในขณะที่งานแบบสัญญาจ้าง Outsource มักจะไม่มีใครมาเปลี่ยนหน้าที่การงานของคุณได้ เพราะคุณถูกวางไว้แล้วว่าให้ทำส่วนนี้ของโครงการให้แล้วเสร็จ ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้คุณเชี่ยวชาญในงานของคุณเอง ลงลึกในรายละเอียด มีมุมมองที่กว้างขึ้นในภาพรวม และส่งผลให้คุณเองได้พัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ ความมั่นใจ และทักษะในการงานให้ดีขึ้นด้วย
ในฐานะคนที่ได้รับการว่าจ้างแบบ Outsource คุณควรจะสร้างผลงานของคุณไว้ในบริษัทหนึ่งๆ เพื่อที่ชื่อเสียงของคุณจะได้กระจายต่อไป เพราะบริษัทที่ต้องการ Outsourceเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็รู้จักกัน หากคุณก่อเรื่องไว้ มีบ่อยครั้งที่คุณอาจจะไม่ได้งานอีกต่อไปเลยก็ได้ และหากคุณมีบริษัทที่เสนอผลตอบแทนที่ดีแล้ว อย่าลืมพัฒนาตัวเองให้พวกเขาได้เห็นถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นของคุณในแต่ละรอบสัญญาด้วย
ในตอนถัดไป เราจะมาพูดถึงมิตรภาพ ภาวะผู้นำ และสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความสุขในที่ทำงานของคุณเมื่อได้ทำงาน IT Outsource กันครับ
เนื้อหา: Richard Andrew Ian Cowley
แปล: Thanthip (Nat) Suratthanyakorn
เรียบเรียง: Matana Wibooyasake
- Reverse Mentoring เพราะเราทุกคนให้ความรู้และมุมมองที่แตกต่างกันได้ - มิถุนายน 20, 2024
- Certificate ที่น่าสอบเพื่อตอบโจทย์การทำงานสาย IT ในปี 2024 - มิถุนายน 14, 2024
- อยากเป็น Software Tester / QA Tester ต้องเริ่มอย่างไร - มกราคม 8, 2024
- สัมภาษณ์อย่างไรให้ได้งาน เราช่วยคุณเตรียมตัวได้นะ - ธันวาคม 7, 2023
- อยากเพิ่มทักษะให้ตัวเอง – ตัดสินใจอย่างไรระหว่างเลือกเรียนภาษาที่สามหรือภาษาคอมพิวเตอร์ ? - กุมภาพันธ์ 7, 2020
- วิธีเลือกกองทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยง - มกราคม 13, 2020
- บริษัทคัดเลือกผู้สมัครอย่างไร – ทำไมบริษัทไม่รับผมเข้าทำงาน? - กันยายน 23, 2019
- ไม่ใช่แค่คุณลุงคุณป้า แต่คนทำงานอย่างเราเองก็ต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุด้วยเช่นกัน - สิงหาคม 14, 2019
- แนะนำวิธีการเก็บเงินสไตล์นักเศรษฐศาสตร์ที่คุณเองก็ทำได้ - กรกฎาคม 22, 2019
- ประโยชน์ในการเป็นพนักงาน IT Outsource แบบสัญญาจ้าง (ตอนที่ 3) - พฤษภาคม 10, 2019