ลักษณะการทำงานของ Blockchain

บทความนี้เราจะอธิบายลักษณะการทำงานของ Blockchain เพื่อให้คุณได้มองภาพออกง่ายๆได้ตามนี้ค่ะ

1. A ต้องการโอนเงิน (ส่งข้อมูล) ไปให้ B ผ่านเลขบัญชี โดยใช้ Private key+Password และ Public Key

ในเรซูเม่ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. Personal Data

ผู้ใช้ (Node) ทุกคนต้องมีกุญแจสองอัน อันแรกคือ Private key ที่ถือเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของของสมุดบัญชีพร้อมกับ Password ซึ่งถูกจากสร้างลายเซ็นต์และชุดตัวเลขที่ใช้อัลกอริทึมสร้างขึ้นมาทำให้ไม่มีทางซ้ำกับเลขอื่นๆ และใช้สิ่งเหล่านี้มายืนยันการทำธุรกรรม ส่วนกุญแจอีกอันที่ต้องใช้คือ Public Key เปรียบเสมือนที่อยู่ที่ข้อมูลส่งไปถึง ทั้ง Private Key และ Public Key จะใช้งานคู่กันแต่ต่างหน้าที่กันคือ อันนึงใช้เข้ารหัส และอีกอันนึงใช้ในการถอดรหัส สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้ทุกคนคือ Private Key และ Password ต้องเก็บเป็นความลับของเจ้าของเท่านั้น เพราะหากมีเงินอยู่ในนั้น 10-100 ล้านแล้ว แต่ Private Key และ Password ดันหายไป ผู้ใช้จะไม่สามารถเรียกคืนหรือทวงคืนมาได้จากโลกเสมือน หรือแม้แต่ใครหวังฮุบเงินก้อนนั้นไปก็ทำไม่ได้เช่นกัน

*โดยหลักแล้วข้อมูล หรือ Data ที่ต้องการส่งจะเป็นอะไรก็ได้ จำนวนเงิน สัญญา คะแนน ฯลฯ

2. เก็บ Transaction ไว้ใน Public Ledger

ข้อมูลการเดินบัญชี (Transaction) ถูกเริ่มต้นสร้างขึ้น รายการจะแจ้งว่าตัวเลขทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่จำนวนเงินที่ถูกต้องที่มีอยู่ในบัญชีของ A ถูกส่งไปให้บัญชีของ B ที่แสดงจำนวนเงินที่มีอยู่เช่นกัน โอนเท่าไหร่ ตัวเลขขึ้นตามนั้น ตรงนี้ทำให้เราเห็นรายการทั้งหมดที่เป็นยอดบวกลบที่ถูกต้อง ทำให้เราสามารถตรวจสอบย้อนกลับเรื่องที่มาของเงินได้ตลอด โดยทั้งหมดในรายการนี้จะถูกเก็บไว้ใน สมุดจดบัญชี (Public Ledger) แล้วส่งข้อมูลแบบที่ยังไม่ได้ยืนยันความถูกต้อง (Unconfirmed Transaction) ให้ผู้ใช้ทุกคน

3. ยืนยันความถูกต้องโดย Miner และต้องไม่ถูกคัดค้านจากผู้ใช้

หลังจากที่ได้รับข้อมูล (Data) แล้วจะมีผู้ตรวจสอบมายืนยันความถูกต้อง เราเรียกคนคนนี้ว่า Miner มาจากผู้ใช้ที่เสนอตัวเข้ามา กติกาคือใครจะเสนอตัวก็ได้ ขอให้มีหลายคนเสนอ จากนั้น Miner ทั้งหลายจะเกิดการแข่งขันกันเป็นผู้ตรวจสอบ (โดยใช้วิธีการคำนวณค่า Hash หรือสมมุติเป็นการแก้สมการนับล้านๆครั้ง เพื่อให้ได้ค่ายืนยันกล่อง ตัวอย่างการใช้เวลาในการหาค่าสมการ ปกติ Bitcoin ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที จริงๆแล้วอาจเร็วหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสกุลเงินดิจิทัล)

ใครเสร็จก่อนและไม่ได้รับการคัดค้านความถูกต้องจากผู้ใช้ทั้งหมด จะได้รับค่าตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูปแบบของรางวัล (Reward ) ของความพยายาม หรือรับเป็น Transaction fee ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โดยช่วงแรกจะกำหนดไว้ 50BTC และจะลดลงเรื่อยๆทุก 4 ปี (เรียกการลดตามระยะเวลาที่กำหนดนี้ว่า Halving) แต่ด้วยจำนวนบล็อคที่มากขึ้น ทำให้ตอนนี้เหลือแค่ครั้งละ 25 BTC เท่านั้น (ในบาง transaction อาจไม่มีรางวัล) ตรงนี้สร้างโอกาสให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีเงินในโลกดิจิทัลได้สร้างฐานะขึ้นมาจากความว่างเปล่าได้ เราเลยเรียกกันว่านักขุดทอง

ส่วนความยากที่ต้องเป็นที่หนึ่งนี้เราเรียกว่า Proof of Work หรือตัวพิสูจน์การทำงาน ถูกนำมาใช้ยืนยัน Transaction นั่นเอง โดยยืนยันชิ้นที่เสร็จก่อน เพื่อป้องกันการยืนยันซ้ำซ้อนจาก Miner อื่นๆ (Double Spending) เพราะหากมีการยืนยันซ้ำซ้อน Transaction นั้นจะถูกตีกลับ (Reverse) ต้องทำการแก้สมการใหม่เพื่อยืนยันอีกครั้ง ตรงนี้ค่อนข้างใช้เวลา เมื่อเสร็จแล้วจึงจะรวบเก็บทุกอย่างที่เกิดขึ้นของรายการนั้นไว้ใน กล่อง (Block) เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงให้แก่กล่องถัดไป (เรียกเลขหลักฐานนั้นว่า Previous Hash) ที่จะเกิดขึ้น

* หลังจากนี้หากมีอีกกล่องที่ซ้ำกัน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นคือถูกตีกลับ แต่อันไหนได้รับการยืนยันก่อนจะถูกส่งต่อร้อยเรียง และอ้างอิงสายที่ยาวกว่าถือเป็นข้อมูลที่จะถูกนำไปใช้ต่อๆไป

4. เพิ่ม Block นั้นเข้าไปยัง Chain

จากนั้น Block หรือข้อมูลการเดินบัญชีที่ได้รับการตรวจสอบแล้วและมีข้อมูลที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเป็นสิ่งที่อ้างอิงสู่กล่องถัดไป จะถูกส่งมาต่อเพื่อร้อยเรียงกันและกันไปเรื่อยๆ สภาพการเรียงตัวกันแบบ –กล่องนี้มาก่อนและกล่องนี้มาหลัง- ไม่สามารถสลับสับเปลี่ยนได้ และข้อมูลที่อยู่ในกล่องจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เป็นการอัพเดทข้อมูลให้กับผู้ใช้ทุกคนต่อไป ตรงนี้เองคือความปลอดภัยที่ใครก็ไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้ เพราะหากกล่อง C มีข้อมูลที่ผิดพลาดเข้ามา หรือมีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับกล่อง B ทุกอย่างในกล่องจะถือเป็นโมฆะ (Invalid) กล่องนั้นจะไม่สามารถเกิดเป็นธุรกรรมที่สมบูรณ์ได้เลย และรายการที่เป็นกล่องถัดๆไปก็จะ Invalid ไปด้วย จนกว่าจะมีกล่องถัดไปที่ถูกต้องมาต่อท้าย

5. เงินถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้

เมื่อทุกอย่างสำเร็จตามขั้นตอน เงินจะถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้ทุกคนพร้อมกัน การส่งต่อข้อมูลจากเครื่องถึงเครื่อง เรียกว่า  Peer-to-peer ส่วนเงินที่ว่านี้เป็นเพียงแค่จำนวนที่ถูกระบุขึ้น ไม่มีเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เป็นสินทรัพย์แบบนึงในโลกดิจิทัลที่ถูกบันทึกด้วยเทคโนโลยีเท่านั้น นอกจากนั้นข้อมูลที่อัพเดทแก่ผู้ใช้มีความเป็น Original หมด แม้ว่าจะเป็นสำเนาก็ตาม เพราะถือเป็นข้อมูลเดียวกันที่ได้รับรองความถูกต้องแล้ว และอยู่ในมือ อยู่ในเครื่องของแต่ละคน ต่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น หายนะต่างๆ ทั้งระเบิด ไฟไหม้ อุทกภัย ในที่ไหนซักที่ Blockchain แทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะข้อมูลถูกกระจายไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้งานอย่างเท่าเทียมกันนั่นเอง

Tags

What do you think?

Related articles