‘เพราะข้อมูลของเราสำคัญเสมอ’
คนยุคดิจิตอลอย่างเรามีข้อมูลเก็บไว้มากมาย ข้อมูลส่วนตัวก็ดี ข้อมูลของการทำงานก็ดี เหล่านี้มีความสำคัญด้วยกันทั้งนั้น ทั้งภาพถ่ายส่วนตัวตลอดเวลาที่ผ่านมา ข้อความ บทสนทนา ไฟล์งานที่ทำไว้และเป็นข้อมูลชั้นดีสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับปีต่อๆไปได้ เราเชื่อว่านอกจากความสำคัญแล้ว ยังมีคุณค่าต่อตัวเรามากด้วยเช่นกัน คุณจะนอนหลับได้เหรอถ้าข้อมูลสำคัญของคุณหายไป? แล้วสำรองข้อมูลชุดเดียวพอไหม? เรามีวิธีดีๆในการจัดการและสำรองข้อมูลมาบอก เพื่อให้คุณตื่นมาทุกเช้าด้วยความสดใสสบายใจ จนอดอุทานเบาๆไม่ได้ว่า ‘I backup like this.’
ก่อนอื่นคุณควรทำความรู้จักกับข้อมูลของคุณให้ดี
เพื่อจะได้หาวิธีในการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นอย่างถูกต้อง และง่ายต่อการใช้งาน
- ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลประเภทใด
ข้อมูลมากมายในชีวิตประจำวันหากเราจะจัดการได้ ต้องเข้าใจก่อนว่าข้อมูลที่เรามีเป็นแบบนั้นเช่น เอกสาร รูปภาพ หรือฐานข้อมูล
- ข้อมูลนั้นมีความสำคัญแค่ไหน
คุณจำเป็นต้องลำดับความสำคัญของข้อมูลนั้นๆ เพื่อจะได้ใช้ตัดสินใจเลือกวิธีการสำรองข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ช่วยให้สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายในการสำรองข้อมูลได้อย่างคุ้มค่าเหมาะสม
หลังจากที่เรารู้และเข้าใจในตัวข้อมูลแล้ว เราลองมาดู
5 วิธีการสำรองและการดูแลข้อมูล
1. สำรองข้อมูลเบื้องต้น
- สำหรับข้อมูลที่เราไม่ได้ใช้งานบ่อย เช่น email นัดหมาย, หมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องติดต่อชั่วคราวเราอาจจะใช้วิธีการส่ง email ไปหา account ที่สองของเราเพื่อสำรองไว้
2. สำรองข้อมูลสำคัญด้วยสื่อบันทึกอื่น
- เราสามารถสำรองข้อมูลสำคัญๆ ที่ต้องการเก็บเป็นข้อมูลถาวร / ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น / มีการเปลี่ยนแปลงน้อยครั้งไปที่สื่อบันทึกอื่น เช่น Handy disk, External HDD, DVD-ROM ฯลฯ เพื่อสามารถกู้คืนได้ในกรณีเผลอทำข้อมูลศูนย์หายหรือแก้ไขไฟล์ผิดพลาด
3. สำรองข้อมูลสำคัญด้วย Cloud system
- เป็นการสำรองข้อมูลไปไว้ในระบบ Internet โดยผู้ให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ เดี๋ยวนี้มีให้บริการมากมาย เช่น Google driver, dropbox สามารถแชร์ข้อมูลให้คนอื่นได้ตามต้องการและปลอดภัย
4. ให้ความสำคัญกับความถี่ในการสำรองข้อมูล หากข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
- ควรระบุความถี่ในการสำรองข้อมูลแตกต่างกัน เช่น สำหรับ Database (ฐานข้อมูล) ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเราควรจะเลือกเป็น Weekly Backup
5. ตรวจสอบข้อมูล Backup เพื่อความพร้อมในการกู้ข้อมูล
- คือการตรวจสอบเป็นระยะ เพื่อดูว่าข้อมูลเหล่านั้นสามารถในกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา ไม่ทำได้ไหม? ไม่ดีมั้ง ใครจะรู้ดีที่สุดว่าข้อมูลนั้นควรหมั่นถูกตรวจสอบบ่อยๆได้ดีไปกว่าเจ้าของข้อมูล จริงไหม?
ที่แน่ๆคุณไม่ควรมีข้อมูลตัวจริงชุดเดียว
แต่ควรทำสำรองไว้อย่างน้อยที่สุด 1 ชุด สำหรับวิธีการง่ายๆ 5 อย่างที่เรานำมาเสนอนี้อาจฟังดูกึ่งยากกึ่งง่าย แม้ต้องใช้เวลา และความคล่องแคล่วในการดูแลอยู่ประมาณหนึ่ง แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปที่เราจะสามารถดูแลรักษาข้อมูลให้อยู่กับเราได้อย่างปลอดภัยต่อไป เอาล่ะ คุณคิดว่าจะ Back up like this แล้วรึยัง?
#IBackupLikeThis
#WorldBackupDay
#เลือกวิธีBackupดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
#รักเพื่อนอย่าลืมเตือนเพื่อนให้BackUp
เนื้อหา: คชาพล กุญชร ณ อยุธยา
เรียบเรียง: มทนา วิบูลยเสข
Digital Marketing Executive | Aware Group ตั้งใจที่จะส่งมอบเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เขียนให้อ่านง่ายและเข้าใจง่าย แม้ผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนก็สามารถศึกษาร่วมกันได้ ยินดีที่จะนำเสนอเรื่องราวน่าสนใจด้านเทคโนโลยี มาร่วมเรียนรู้ด้วยกันนะคะ