5 แอปพลิเคชันจาก Google ที่คุณอาจไม่เคยใช้งานมาก่อน

เชื่อว่าด้วยการทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน หรือผู้ประกอบการต่างก็ต้องรู้จักและเคยใช้งานแอปพลิเคชันตัวดังจาก Google เช่น Docs, Sheets, Forms เพราะทั้งสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่ายแต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากแอปเหล่านี้ยังมีแอปน่าใช้ดีดีอีกหลายแอปที่ทาง Google ออกแบบมาให้ทุกคนสามารถจัดการงานที่แตกต่างกันให้มีประสิทธิภาพครบถ้วน อีกทั้งยังคงความเรียบง่ายและความสะดวกสบายในการใช้งานดังเดิม พบกับฟังก์ชันหน้าที่หลัก ฟีเจอร์ และประโยชน์จากการใช้งานจาก 5 แอป (ไม่) ลับที่เรามักไม่รู้จักของ Google

Google Keep

                                

แอปพลิเคชันสำหรับการจดบันทึกที่ช่วยจัดการสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน โดยสามารถจดบันทึกได้หลายแบบ ไม่ว่าจะพิมพ์ข้อความ ใส่รูป แนบเว็บไซต์ ทำเป็นเช็กลิสต์ มีทั้งระบบบันทึกเสียงพร้อมถอดเสียงภาษาอังกฤษออกมาเป็นตัวอักษร หรือระบบถอดข้อความจากภาพที่ถ่ายมา และไม่ต้องกังวลว่า ตัวเองจะจดพลาดเพราะสามารถแชร์โน้ตกับผู้ใช้งานคนอื่น ทำให้ทั้งทีมสามารถช่วยกันตรวจ ช่วยกันอ่าน จนข้อมูลงานถูกต้องครบถ้วน

นอกจากนี้ Google Keep ยังเป็นตัวช่วยชั้นดีสำหรับคนขี้หลงขี้ลืม เพราะมีทั้งระบบแจ้งเตือนตามเวลาที่กำหนดและระบบแจ้งเตือนตามสถานที่ที่เดินทางไป ดังนั้นจะไม่มีโมเมนต์ถึงร้านแล้วลืมว่าต้องซื้ออะไรอีกต่อไป และไม่ต้องกลัวเรื่องข้อมูลเยอะแล้วจะจัดการไม่ไหว เพราะมีฟีเจอร์ที่ทั้งช่วยจัดโน้ตให้เป็นกลุ่ม หรือเก็บโน้ตที่ทำแล้วไม่ให้ปนกับสิ่งที่ต้องทำ ไหนจะระบบค้นหาที่ค้นได้หลายสิ่งอย่าง ทั้งค้นแบบใช้ชื่อคน ชื่อสิ่งของ หรือแม้กระทั่งสีของโน้ต ปิดท้ายด้วยทีเด็ดในการเชื่อมต่อข้อมูลในโน้ตกับแอปพลิเคชันตัวอื่น ๆ จาก Google ทำให้การทำงานผ่านหลายแอปซึ่งเป็นเรื่องปกติในชีวิตการทำงานเป็นไปได้สะดวกยิ่งขึ้น

Google Sites

                            

แอปพลิเคชันช่วยสร้างเว็บไซต์ที่มีฟังก์ชันหลายอย่างให้ใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ เริ่มตั้งแต่หน้าโฮมเพจที่ผู้ใช้สามารถเลือก Favicon หรือไอคอนที่จะปรากฏบนหน้าแท็บ เลือกโลโก้สำหรับเว็บไซต์ หรือทำเว็บแบนเนอร์เพื่อประกาศข้อมูลสำคัญ เช่น โฆษณาสินค้าหรือช่องทางการติดต่อด่วน สำหรับการจัดทำเนื้อหาบนเว็บก็มี Template ให้เลือกลักษณะการวางข้อมูลได้หลายแบบ อีกทั้งผู้ใช้สามารถเลือกรูปพื้นหลังได้ตามใจชอบ เพราะมีระบบช่วยปรับสีภาพพื้นหลังที่จะทำให้ตัวอักษรบนเว็บไซต์อ่านได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถอัปโหลดสื่อได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ตารางเวลาบนปฏิทิน คลิปวิดีโอ หรือตำแหน่งบนแผนที่ และที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้สามารถย่อ ขยาย และเคลื่อนย้ายทุกสิ่งได้อย่างอิสระ

นอกจากการจัดทำโฮมเพจแล้ว หากคิดว่ายังขาดข้อมูลส่วนไหนไปก็สามารถจัดการเว็บไซต์ให้น่าสนใจและน่าใช้งานมากขึ้นผ่านการเพิ่มเว็บเพจอื่น ๆ เช่น การเพิ่มที่ Navigation ของโฮมเพจ ทำให้ผู้เข้าชมสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น การเพิ่มเว็บเพจย่อยภายใน Navigation ทำให้ข้อมูลเป็นระบบมากขึ้น หรือการสร้างปุ่มที่เชื่อมกับลิงก์เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ และหากรู้สึกว่าการสร้างเว็บไซต์คนเดียวมันเหนื่อยเกินไป ก็สามารถเพิ่มผู้ใช้งานคนอื่นให้เข้ามาช่วยสร้างเว็บไซต์เดียวกันได้ ทำให้การสร้างเว็บไซต์เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้

Google Calendar

                  

ตัวช่วยชั้นยอดสำหรับการจัดการบริหารเวลาให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการสร้างรายการสิ่งที่ต้องทำและกำหนดการนัดหมายต่าง ๆ ลงบนปฏิทิน เพียงแค่เลือกวันเวลาบนปฏิทินก็สามารถเริ่มวางแผนได้ทันที นอกจากนี้สำหรับการใช้งานบนคอมพิวเตอร์จะมีคีย์ลัดคอยช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น เช่น ปุ่มตัวเลขที่ทำให้ปฏิทินแสดงผลแบบวัน เดือน ปี หรือแค่ตารางงาน ช่วยปรับปฏิทินให้เหมาะกับการทำงานในแต่ละครั้งเสมอ แถมยังมีฟีเจอร์ช่วยบันทึกกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใส่ข้อมูลซ้ำ และสำหรับคนที่กลัวจะพลาดนัดก็สามารถตั้งการแจ้งเตือนได้หลายครั้งตามเวลาที่ต้องการ

นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเพิ่มปฏิทินและเปลี่ยนสีของปฏิทินเพื่อแยกประเภทของกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน อีกทั้งยังสามารถแชร์ปฏิทินดังกล่าวให้กับผู้ใช้งานคนอื่นได้ ทำให้รู้ตารางงานทั้งเขาและเรา รู้นะว่าเธอว่าง เลยอยากจะขอเวลาบ้างสักหน่อย สุดท้ายนี้ Google Calendar สามารถทำงานร่วมกันกับแอปพลิเคชันมากมาย เช่น Google Meet, Google Task และ Outlook จาก Microsoft อีกทั้งยังทำงานเชื่อมกับปฏิทินบนโทรศัพท์ ทำให้การบริหารเวลากับทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องสบาย ๆ

Jamboard

                  

ไวท์บอร์ดเสมือนจริงบนโลกดิจิทัล มาพร้อมกับตัวเลือกในการทำงานมากมายจนเหมือนกับเป็นกระดานของจริง ทั้งสามารถใส่ข้อความ รูปภาพ กระดาษโพสต์อิท รวมไปถึงปากกา ยางลบ และอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนภาพพื้นหลังได้ตามต้องการ แถมมีฟีเจอร์ที่เหนือกว่าการขีดเขียนบนกระดานทั่วไปด้วยความสามารถในการย้อนกลับ คัดลอก และย่อขยายได้ตามสบาย พร้อมระบบค้นหาที่ค้นได้แม้กระทั่งคำบนรูปภาพ ช่วยตามหางานที่ต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น

สำหรับการทำงานร่วมกัน ผู้ใช้สามารถแชร์เพื่อทำงานร่วมกับผู้ใช้คนอื่นได้ถึง 50 ผู้ใช้งาน แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่การใช้งานไม่พอเพราะสามารถเพิ่มกระดานในไฟล์เดียวกันได้ถึง 20 กระดาน อีกทั้งยังสามารถดาวน์โหลดเป็นไฟล์ PDF หรือไฟล์ภาพ ช่วยให้การนำไปใช้งานในอนาคตทำได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ขณะประชุมผ่าน Google Meet ก็สามารถเปิดใช้งาน Jamboard ไปพร้อมกัน ช่วยให้ทุกคนสามารถสื่อสารเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชิ้นงานได้สะดวกยิ่งขึ้น

Google Cloud Search

                    

ตัวช่วยสำหรับการค้นหาข้อมูลที่เชื่อมต่อกับทุกแอปพลิเคชันของ Google เหมาะอย่างยิ่งกับการทำงานที่มีข้อมูลจำนวนมากต้องจัดการอย่างการทำงานในระดับองค์กร โดยผู้ใช้แค่พิมพ์คำที่ต้องการลงในระบบค้นหา จากนั้นระบบก็จะแสดงผลข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ อีเมล บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลที่ปรากฏจะเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงแล้วเท่านั้น ฉะนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครมาเปิดไฟล์ซี้ซั้ว ข้อมูลทุกอย่างเก็บไว้ได้ชัวร์ ๆ

นอกจากนี้ Cloud Search ยังมีฟีเจอร์ช่วยจัดการการทำงาน ช่วยให้คุณสามารถจัดการกับงานนั้นได้ภายในที่ที่เดียว เช่น การโทร การเลื่อนประชุม การตอบอีเมล พร้อมทั้งมีไฟล์ข้อมูลสำหรับงานดังกล่าวจัดเตรียมไว้เรียบร้อย เรียกได้ว่า เสิร์ฟข้อมูลมาให้ผู้ใช้ได้ถูกต้องถูกที่ถูกเวลา

ในขณะนี้ Cloud Search เปิดให้บริการสำหรับผู้ที่สมัครใช้งาน Google Workspace เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี การสมัคร Google Workspace จะทำให้สามารถใช้งานแอปพลิเคชันของ Google ในเวอร์ชันพรีเมียมที่มีเหล่าแอปดังและเหล่าแอปสุดปังจากบทความนี้ หากสนใจก็สามารถ

What do you think?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Related articles