Technology News TH

Whaling phishing คืออะไร

Whaling phishing หรือที่เรียกว่า Business Email Compromise (BEC) เป็นการโจมตีผ่านทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งมุ่งเป้าไปที่พนักงานระดับสูง โดยเฉพาะประธานฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเงิน เพื่อขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน และส่งผลกับองค์กร     คำว่า “Whaling phishing” ถูกใช้เนื่องจากผู้โจมตีมักกำหนดเป้าหมายไปที่บุคคลระดับผู้บริหารขององค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “ปลาใหญ่” หรือ “ปลาวาฬ”    การโจมตีเหล่านี้มักดำเนินการผ่านทางอีเมล แต่ก็สามารถทำได้ผ่านข้อความทางมือถือ ผู้โจมตีมักจะใช้ข้อมูลที่เผยแพร่แบบสาธารณะอยู่ในเว็บหรือสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อค้นหาเป้าหมายและสร้างข้อความที่น่าเชื่อถือขึ้นมาหลอกลวงเพื่อเข้าถึงข้อมูล    Whaling phishing อันตรายแค่ไหน    Whaling phishing อาจส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางการเงินอย่างร้ายแรงสำหรับองค์กรและบุคคลทั่วไปได้ ยิ่งถ้าเจอผู้โจมตีที่มีแรงจูงใจสูงและได้รับการสนับสนุนอย่างดี  อาจใช้กลวิธีที่ซับซ้อนเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ ในบางเคสอาจใช้มัลแวร์หรือเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรและขโมยข้อมูลสำคัญออกไป    ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีแบบ Whaling phishing สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การสูญเสียโดยตรงรวมถึงการสูญเสียทางการเงินที่เกิดจากการโอนเงินผ่านธนาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือเป็นเหตุให้เงินถูกขโมยออกไปจากบัญชี ส่วนการสูญเสียทางอ้อมอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายในการกู้คืนระบบหรือเครือข่าย  ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการทางกฎหมาย ค่าไกล่เกลี่ย และค่าใช้จ่ายในการจัดการแก้ไขปัญหาและความเสียหายเกิดขึ้นกับชื่อเสียงขององค์กร    ลักษณะที่อันตรายที่สุดของ Whaling phishing คือ การหลอกลวงที่เข้าถึงข้อมูลของผู้บริหาร แล้วส่งอีเมลในนามนั้นสร้างความหวาดวิตกจนเหยื่อในองก์กรคล้อยตาม มักตรวจจับได้ยากและกว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว เพราะจะมีการหลอกล่อให้บุคคลเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลองค์กรผ่านการใช้เทคนิค Social Engineering การปลอมแปลงอีเมล และการพยายามปลอมแปลงเนื้อหา ตัวอย่างเช่น ผู้โจมตีวางตัวให้มีความน่าเชื่อถือ ส่งอีเมลถึงเหยื่อ

Read more

รู้จัก Phishing 10 ประเภทที่แบ่งตามรูปแบบการโจมตี

ปัจจุบันการโจมตีแบบ Phishing มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เราจึงรวบรวมรูปแบบที่น่าสนใจมาไว้ที่นี่ค่ะ    Phishing Email การส่งอีเมลออกครั้งละจำนวนมากแบบ “Spray and Pray” โจมตีแบบไม่เจาะจงไปที่เหยื่อรายไหนหรือกลุ่มใดเป็นพิเศษ ใช้คำในข้อความกระตุ้นเพื่อหลอกลวงให้เหยื่อคลิกลิงก์ที่แนบมา  สิ่งที่ควรสังเกต : มักใช้คำเหล่านี้ เรียน เจ้าของบัญชี ด่วนที่สุด ลับเฉพาะ ฯลฯ     Spear Phishing การหลอกลวงด้วยการพุ่งเป้าเจาะจงไปที่เหยื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชัดเจน เริ่มจากการล้วงข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อแล้วส่งอีเมลที่เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงและสร้างความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ต้องดูให้ดีก่อนคลิกลิงก์ดังกล่าว  สิ่งที่ควรสังเกต : อาจใช้อีเมลที่มีชื่อคล้าย ๆ กับคนในองค์กร     Whaling Phishing การโจมตีมุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่มีตำแหน่งอยู่ในระดับสูง โดยในเนื้อหาอีเมลจะสร้างความหวั่นวิตกขั้นรุนแรง เช่น อ้างว่าส่งจากหมายศาล อ้างว่าทำผิดกฎหมาย ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน หรือขอให้เหยื่อกระทำการบางอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจ  สิ่งที่ควรสังเกต :  ภาษาและเนื้อหาอีเมล อาจจะมีคำสะกดผิด มี Link ที่น่าสงสัย และประกอบด้วยคำขอให้โอนเงินหรือขอข้อมูลภายในองค์กร     

Read more

แค่เสียบสายชาร์จก็อาจถูกแฮ็กข้อมูลและดูดเงินออกจากบัญชีได้ จริงหรือไม่? 

หลายคนอาจได้ยินข่าวเกี่ยวกับสายชาร์จ ที่แค่เสียบก็อาจถูกแฮ็กข้อมูลและดูดเงินออกจากบัญชีได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ เรามีคำตอบค่ะ ในทางเทคนิคแล้วโลกนี้มีสายชาร์จประเภทนั้นอยู่ และการแฮ็กผ่านทางการติดตั้งเครื่องมือกับสายชาร์จแบบนี้ เรียกว่า Juice-jacking attack (ข้อมูลจาก Techcrunch) แต่เป็นสายชาร์จที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ ใช้งานโดยคนที่เชี่ยวชาญด้านนี้จริง ๆ และไม่ได้เป็นสิ่งที่ใครก็สามารถหาซื้อหรือนำมาขายได้ในราคาเดียวกันกับท้องตลาด เพราะปัจจุบันราคาขายสายชาร์จแบบนี้อยู่ที่ประมาณ 6,000 -7,000 ต่อสาย ในต่างประเทศมีการทดลองติดตั้งการแฮ็กจากสายชาร์จแต่โอกาสสำเร็จมีน้อยมากเพราะมีรายละเอียดและกระบวนการทำค่อนข้างเยอะ ยาก และสลับซับซ้อน ต้องจัดการการทำงานเพื่อให้มันสามารถเข้าไปฝังอยู่ในมือถือ ติดตาม ควบคุม

Read more

Google Workspace เครื่องมือทำงานที่ทุกองค์กรควรใช้ 

Google Workspace คือ บริการหนึ่งของ Google ที่ช่วยจัดเก็บข้อมูลไว้บน cloud ภายหลังการรีแบรนด์จากชื่อเดิม G Suite มาเป็น Google Workspace เครื่องมือนี้เองทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยแอปพลิเคชั่นที่มีมากถึง 18 แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้การทำงานร่วมกันในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนตอนนี้ Workspace  กลายเป็นเครื่องมือที่หลายองค์กรระดับโลกเลือกใช้   นอกเหนือจากกลุ่มพนักงานองค์กรแล้ว Google Workspace ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มอาจารย์ นักเรียน นักศึกษามากถึง 170 ล้านคน ตรงนี้ถือเป็นเครื่องมือยอดนิยมของคนรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคตอีกด้วย นั่นหมายความว่า มีลูกค้ารุ่นใหม่ที่มีความคุ้นเคยกับการใช้งานของ Google Workspace อยู่มากทีเดียว  มาตรฐานการทำงานแบบใหม่ที่ไร้อุปสรรคในการทำงานร่วมกัน  ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พนักงานจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับนโยบายและขั้นตอนการทำงานจากที่อื่นให้ได้อย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นมาตรฐานการทำงานแบบใหม่ ในขณะเดียวกันก็มีพนักงานบางส่วนที่อาจอึดอัดกับการทำงานรูปแบบใหม่ โดยที่เครื่องมือที่ใช้อยู่อาจไม่สนับสนุนการทำงานจากคนละที่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสรรคทางด้านการสื่อสาร Software Solutions ที่ใช้เป็นแพล็ตฟอร์มในการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งยังทรงพลังจนสามารถช่วยกำหนดวิธีการทำงานขององค์กรอีกด้วย เรียกได้ว่า ปฏิวัติเกือบทุกแง่มุมของการทำงานร่วมกันของคนในทีมไปโดยสิ้นเชิง โดยการใช้เครื่องมือที่ใช้ทำงานร่วมกันมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ  Google Workspace ช่วยสร้างวัฒนธรรมในสถานที่ทำงานร่วมกัน  การเพิ่มขึ้นของโมเดลการทำงานแบบ hybrid และแบบ remote ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้เกิดการทำงาน การสื่อสาร ไปจนถึงการสร้างวัฒนธรรมในสถานที่ทำงานร่วมกัน สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ Google Workspace สามารถเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทในการสนับสนุนองค์กรตามแนวทางการทำงานใหม่ แถมยังช่วยสร้างวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือและช่วยขับเคลื่อนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงานโปรเจ็กต์ใหม่

Read more

สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจใช้ ERP

สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจใช้ ERP ควรพิจารณาอย่างไร? ภายหลังวิกฤต COVID-19 ตลอดเวลาที่ผ่านมาทำให้เราเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่า ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ธุุรกิจที่ดีและจะสามารถอยู่รอดได้ จำเป็นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ และแน่นอนว่า ERP เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นเครื่องมือที่ทรงคุณภาพพอที่จะช่วยจัดการงานโดยรวมทั่วทั้งองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการจัดการที่ดีฉะนั้นย่อมมีโอกาสเติบโตไปในทางที่ทิศทางที่ดีขึ้นได้   เราได้พบว่าตลอดช่วงเวลาที่เศรษฐกิจซบเซานี้ ทั้งหมดเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น แต่พรากโอกาสและส่งผลต่อความสำเร็จโดยรวมหลายอย่างของธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อพูดถึงเวลาและความสูญเสียแล้ว การตัดสินใจกับทางเลือกที่มีอยู่จึงเป็นเรื่องเจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญเช่นกัน   ธุรกิจจะเติบโตได้ก็ด้วยระบบบริหารจัดการทรัพยากรคุณภาพ  ระบบวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับแต่งโครงสร้างการทำงานให้สามารถใช้ได้ทั้งองค์กร ทุกส่วนงาน รวมถึงทำงานระบบบัญชีได้เป็นอย่างดีโดยไม่ทิ้งความยืดหยุ่นในการใช้งานของงานส่วนอื่นไป ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นการกำหนดงานและติดตั้งระบบขึ้นอยู่กับจุดเริ่มต้น ทั้งการกำหนดจุดประสงค์ วางเป้าหมาย และค้นหาผลลัพธ์ให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นเลือก ERP คุณภาพ ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้พลาดและสูญเสียโอกาสมากกว่าเดิม   สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจใช้ ERP  ความเสี่ยง ผู้ประกอบควรกำหนดนโยบาย กระบวนการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของผู้ที่ดูแลรับผิดชอบอย่างเหมาะสมในการบริหารและจัดการความเสี่ยง โดยสามารถอ้างอิงจากลักษณะความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พฤศจิกายน 2562) และพิจารณาทางออกอย่างถี่ถ้วนได้ ดังนี้    ความเสี่ยงจากการพลาดโอกาส  นั่นหมายถึง การพลาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีนั้น เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการดำเนินงาน หรือสร้างผลลัพธ์ที่ก่อให้เกิดมูลค่าให้แก่องค์กรอย่างคาดไม่ถึง  ควรพิจารณาอย่างไร?  ระบบ ERP ที่ดีจะมีการออกแบบมาให้มีรายงานเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า การซื้อสินค้า และการวิเคราะห์เพื่อวางแผนการผลิตหรือซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้พิจารณาและคาดการณ์การดำเนินงานในกระบวนการผลิตได้     ความเสี่ยงจากเทคโนโลยีที่เลือกไม่ตอบโจทย์  ในขณะเดียวกัน คุณควรพิจารณาถึงความเสี่ยงในการรับเอาเทคโนโลยีมาใช้ แต่ทว่าไม่สามารถตอบสนองต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจลดน้อยลง   ควรพิจารณาอย่างไร? 

Read more

กำจัด Digital Footprint ได้ง่าย ๆ ภายใน 5 นาที ด้วย Smart Data Assistant

ปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าคุณจะดูหนัง ฟังเพลง พูดคุย สั่งอาหาร หรือทำอะไรก็ตาม ล้วนแล้วแต่จะต้องมีโลกออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องในเกือบทุก ๆ กิจกรรมไม่มากก็น้อย ซึ่งการเข้าสู่โลกออนไลน์ในแต่ละครั้ง เรานำข้อมูลส่วนตัวของเราเข้าสู่ระบบอย่างมากมาย โดยหารู้ไม่ว่า ข้อมูลของเราถูกหลาย ๆ บริษัทจัดเก็บเอาไว้ บางบริษัทอาจลงลึกจัดเก็บไปมากกว่าข้อมูลส่วนตัวทั่วไป แถมบางครั้งการเข้าไปใช้งานโลกออนไลน์ของเราทิ้ง Digital Footprint ที่อาจจจจะย้อนกลับมาสร้างปัญหาได้ในภายหลัง หลาย ๆ คนอาจเกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วถ้าเราอยากลบ Digital Footprint ให้หมดจด เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว เราจะสามารถทำได้ไหม? หรือร่องรอยการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเราจะต้องอยู่ในโลกออนไลน์ตลอดไป?   ปัญหานานาชนิดที่เกิดมาจาก Digital Footprint   Digital Footprint คือ ร่องรอยการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานที่ได้ฝากเอาไว้บนโลกออนไลน์ทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ Digital Footprint ที่เราทิ้งเอาไว้อาจนำปัญหาใหม่ ๆ มาให้เราได้ในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นการถูกติดตามจากบุคคลที่ไม่พึงประสงค์จากการพิมพ์คอมเมนต์หรือการพิมพ์โต้ตอบบนโลกออนไลน์ที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน และยังมีเรื่องของการติดตามดูทัศนคติจาก HR ของบริษัทที่เรากำลังสมัครงาน เพื่อมองหาความเป็นไปได้ในการร่วมงานกันกับองค์กรนั้น ๆ ถ้า Digital Footprnt ของเราแสดงถึงทัศนคติที่ไม่สอดคล้องกับองค์กร ก็จะลดโอกาสในการได้งานที่เราต้องการ   ปัญหาล่าสุดที่พบกันมากในสังคมไทยนั่นก็คือ การโดนแก๊งมิจฉาชีพเก็บ Digital Footprint ของเราไปเพื่อใช้ติดต่อกลับมาหลอกลวงทรัพย์สินของเราโดยตรง มักจะมาในรูปแบบ Call

Read more

NFT คืออะไร? ทำความเข้าใจกับ NFT ง่าย ๆ ก่อนนำธุรกิจโลดแล่นเข้าสู่โลกของ NFT

ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีหนึ่งคำที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากบนโลกโซเชียลมีเดีย นั่นก็คือคำว่า NFT ซึ่งเรามักจะเห็นคำว่า NFT ปรากฏในการซื้อขายของวงการศิลปะและเกมเป็นส่วนใหญ่ จนทำให้ใครหลาย ๆ คนตั้งคำถามขึ้นมาว่า NFT คืออะไร สำคัญยังไง ทำไมถึงเป็นที่นิยมขนาดนี้   NFT คืออะไร   ในปัจจุบันการซื้อขายไม่ได้มีเพียงแต่การใช้เงินจริง ๆ เท่านั้น แต่ยังมีการใช้เงินสกุลดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีมูลค่าเสมือนเงินจริง ๆ อีกด้วย ซึ่ง NFT ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึง Bitcoin หรือ Ethereum ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่สามารถใช้ซื้อสินค้าทั่วไปแบบจับต้องได้ (Physical) ได้แทนเงินจริง ๆ โดย NFT ก็มีความคล้ายคลึงกับ 2 สกุลเงินดิจิทัลข้างต้น แต่ NFT มีความแตกต่างและพิเศษมากไปกว่านั้น   NFT ย่อมาจาก Non-Fungible

Read more

ความแตกต่างของ ERP และระบบบัญชี 

ในคราวแรกหลายคนอาจจะเข้าใจว่า ERP และระบบบัญชี คือ สิ่งเดียวกัน จะบอกว่าใช่ก็จะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะความซับซ้อนและความสามารถของทั้งสองระบบนั้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  ถ้าหากพูดตามไทม์ไลน์ของเทคโนโลยี แน่นอนว่าระบบบัญชีเกิดขึ้นมาก่อน มันถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และความถูกต้องในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเงินของบริษัท เพราะในอดีตการทำธุรกิจที่ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนั้น จึงเป็นการมีระบบบัญชีที่ดีที่เข้ามาช่วยควบคุมรายรับรายจ่ายขององค์กร   ระบบบัญชีคืออะไร?  หากจะอธิบายให้ชัดเจนขึ้น ระบบบัญชีเป็นเพียงโปรแกรมสำเร็จรูปที่เน้นไปในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเงินของบริษัท ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย เอกสารการโอนเงิน เอกสารการเบิกจ่ายเงิน รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่เรียงลำดับวันที่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา สะดวกในการทราบต้นทุนและกำไรของบริษัท ไปจนถึงการที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปเป็นหลักฐานในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กรมสรรพากรอีกด้วย แต่ทว่าระบบนี้ไม่ได้ครอบคลุมหรือเชื่อมต่อการทำงานไปยังส่วนงานอื่นๆขององค์กร   ERP ครอบคลุมถึงงานในส่วนอื่นในองค์กร  ในขณะที่ ERP หรือการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resource Planning System) เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยการรวบรวม เชื่อมโยง วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลระหว่างแผนกในองค์กรทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียว และยังสามารถขยายผลสู่การเชื่อมโยงระหว่างองค์กรเข้าด้วยกัน ช่วยให้การวางแผนและจัดการทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เพิ่มความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้ในการวางแผน และการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งให้ผลลัพธ์มวลรวมมากกว่าระบบบัญชีอยู่หลายขั้นด้วยกัน   แนวโน้มการใช้งานระหว่างระบบ ERP และโปรแกรมบัญชีในปัจจุบันเป็นอย่างไร?   ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ย่อมมีการแข่งขันทางธุรกิจสูงและสูงขึ้นไปเรื่อยๆ นอกจากการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตน ยังต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม ในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิธีลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่เพียงแต่การมีระบบบัญชีที่ดีที่จะสามารถอำนวยสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ แต่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ฉะนั้น ERP

Read more

Man & Metaverse – เราจะได้ใช้ชีวิตร่วมกับ Metaverse อย่างไรนับจากนี้ 

เมื่อช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในวงการเทคโนโลยี ทำให้จู่ ๆ คำคำหนึ่งก็กลายเป็นคำที่ใคร ๆ ต่างพยายามหาคำตอบเพียงช่วงข้ามคืน ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้น คือการบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีอย่าง Facebook ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น Meta (เมตา) และคำนี้นี่เองที่ทำให้หลายคนต้องรีบหาคำตอบ ว่ามันคืออะไรกันแน่?   ก่อนจะมาถึงคำว่า Metaverse  หลายคนอาจจะเคยรู้มาบ้างแล้วว่า Meta จะมีคำตอบไปในทิศทางไหน แต่อีกหลาย ๆ คนสงสัยเหลือเกินว่าทำไม Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Facebook ถึงจะเปลี่ยนชื่อบริษัทของตัวเองเป็น Meta เขากำลังจะทำอะไรกันแน่ นี่เป็นข่าวที่ทั่วโลกต่างจับตา เพราะมันต้องมีความหมายอยู่แล้วที่ผู้บริหารจะเปลี่ยนชื่อบริษัทของตัวเอง ทั้งที่เป็นเวลาเกือบ 20 ปี ที่เขาใช้ชื่อ Facebook จนเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จัก จดจำกันได้ทั่วโลก และมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้นับพันล้านคน  ในงาน Facebook Connect 2021 Mark Zuckerberg  ได้ออกมาประกาศว่าบริษัท Facebook จะรีแบรนด์และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น Meta เพื่อเดินหน้าวิสัยทัศน์ Metaverse อย่างเต็มตัว ซึ่งนี่จะเป็นทิศทางใหม่ของบริษัท ที่เขาพร้อมจะมุ่งมั่นและเดิมพันกับมัน โดยตัวเขาเองก็เคยออกมาบอกเมื่อเดือนกรกฎาคมแล้วรอบหนึ่ง ว่าเขาต้องการเปลี่ยนให้ Facebook กลายเป็น Metaverse Company เต็มตัว ภายในระยะเวลา 5 ปี  ในฐานะผู้ใช้ Facebook อย่างเรา ๆ หลังจากได้ยินข่าวก็อาจจะคิดกันไปต่าง ๆ นานา ว่าการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้จะส่งผลกระทบอะไรกับบัญชี Facebook ของเราไหม ซึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น เขาแค่เปลี่ยนชื่อบริษัท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Meta จะเปรียบได้กับยานแม่ ส่วน Facebook และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เคยเป็นของ Facebook จะลดขนาดลงมาเป็นบริษัทลูกที่อยู่ภายใต้การดูแลของ Meta แทน ทั้งธุรกิจโซเชียลมีเดีย Facebook, Instagram, WhatsApp, Facebook Messenger และธุรกิจ AR, VR และ Metaverse ที่เขากำลังทำ   Metaverse คืออะไร?  หลายคนน่าจะได้คำตอบแล้วว่าทำไม Mark Zuckerberg ถึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta มันเป็นวิสัยทัศน์ของเขาที่ต้องการให้ Facebook เป็นมากกว่าโซเชียลมีเดีย โดยจะมุ่งสู่การสร้างโลกเสมือนอย่าง Metaverse มากกว่าจำกัดอยู่กับคำว่า Facebook ต่อจากนี้ไป ทุกคนจะเชื่อมโยงถึงกันด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือน ที่เราอาจเคยรู้จักโลกเสมือนในวงการเกม แบบที่ว่าแค่สวมแว่น VR ก็เหมือนกับเราได้เข้าไปอยู่ในเกมนั้นจริง ๆ การมาถึงของ Metaverse  จะเปลี่ยนโลกที่เราเคยรู้จัก ให้กลายไปเป็นโลกใบใหม่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแน่นอน  ซึ่งถ้าเขาทำให้มันเป็นจริงได้ในเวลา 5 ปี เท่ากับว่าต่อจากนี้อีก 5 ปี การติดต่อของพวกเราก็จะใกล้ชิดกันมากขึ้น เราจะสามารถเทเลพอร์ตตัวเองไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อพบปะกับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในโลก Metaverse เช่นเดียวกัน ซึ่งในขณะนี้ เขาก็กำลังพัฒนาโปรเจ็กต์หนึ่งในชื่อ Horizon Home ซึ่งเป็นแอปฯ สำหรับการเข้าสังคมในรูปของห้องนั่งเล่นที่คุณจะชวนใครมานั่งก็ได้ โดยใช้ระบบร่างอวตารหรือตัวแทนผู้ใช้งานเสมือนจริง  สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ หากมีคนพูดขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อน ก็คงจะโดนค่อนแคะว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน อาจถึงขั้นโดนปรามาสว่าเพ้อเจ้อ แต่ ณ เวลานี้ เรากลับเริ่มที่จะเห็นมันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้ว โดยเริ่มมาจาก Facebook อีกเช่นเคย ที่เคยพลิกโฉมโลกเทคโนโลยีมาครั้งหนึ่งแล้ว  แต่ครั้งนี้ เขาเล็งเห็นว่า Metaverse คืออนาคตแห่งโลกอินเทอร์เน็ต บริษัทของเขาจึงหันมาโฟกัสและให้ความสำคัญกับเรื่องของการสร้างและใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันเป็นอันดับแรก ที่เขาย้ำว่าต่อจากนี้จะต้องเป็น Metaverse-First ไม่ใช่ Facebook-First และมอง Metaverse เป็นเครื่องมือยุคถัดจากโซเชียลมีเดีย ที่สามารถสร้างเศรษฐกิจ สร้างงาน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้กับโลก   โลกเสมือนคืออะไร?  ความหมายของเสมือน เป็นเพียงความเหมือน ความคล้ายคลึง แต่ไม่ใช่สิ่งนั้นจริง ๆ นั่นหมายความว่า Mark

Read more