Technology News TH

จนถึงตอนนี้แล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับ Digital Transformation อยู่อีกไหม? 

คำถามนี้อาจเกิดขึ้นกับองค์กรทุกขนาด แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเหมือนแรงผลักที่ทำให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัว ถึงแม้จะล่วงเลยกันมาปีกว่าแล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับ Digital Transformation อยู่อีกไหม จะช้าไปรึเปล่า?  Digital Transformation ยังสำคัญอยู่ในแง่การปรับตัวและเป็น Normal ปัจจุบัน ที่จากนี้ไม่ว่าจะอย่างไรมีความเป็นไปได้ว่าเราต้องสามารถรับมือกับสถานการณ์ข้างหน้าได้แม้ว่าต้องลดการติดต่อพบปะ ต้องทำธุรกิจ ทำงาน และดูแลลูกค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องของ Digital Transformation จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจที่มาที่ไปของการทำ Digital Transformation  หลายองค์กรคิดว่าต้องรีบกระโจนเข้า Digital Transformation เลย แค่มองหาเทคโนโลยีล้ำๆเข้ามาใช้ โดยที่ยังตอบคำถามเกี่ยวกับธุรกิจได้ไม่ชัดเจนถึงทิศทาง กลยุทธ์ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหลายๆอย่าง ที่รวมไว้ด้วยข้อมูลที่มีอยู่หลากรูปแบบ ไปจนถึงวิธีการที่จะนำมาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตนเอง   นอกจากนั้นหลายธุรกิจยังมีอุปสรรคในการทำ Data Management ให้ง่ายขึ้นอีกด้วย การรับช่วงต่อจากข้อมูลก่อนหน้าที่อยู่ในรูปแบบหนึ่ง เข้ามาเก็บในรูปแบบออนไลน์ จะเชื่อมโยงและส่งต่อข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างไร หรือในกรณีที่ข้อมูลจากธุรกิจรุ่นคุณพ่อส่งต่อให้รุ่นลูก จะนำข้อมูลทั้งสองรุ่นมาบูรณาการร่วมกันได้อย่างไร   Digital Transformation คืออะไร?  Digital Transformation คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้มีศักยภาพพร้อมต่อสู้ในยุคที่ดิจิทัลมีผลกับทุกคน ซึ่งคำว่า Digital Transformation ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่มันคือการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร ตั้งแต่เริ่มต้นวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์กร ไปจนถึงขั้นตอนการทำงานของทุกฝ่าย รวมไปถึงความสามารถในการเข้าถึงลูกค้าด้วยการนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนช่วยให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง   การเริ่มต้น Transform ที่ง่ายที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การนำระบบ Excel เข้ามาใช้แทนกระดาษในการทำงานภายในองค์กร หรือการเลือกซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่อย่าง ERP, CRM หรือ HCM เข้ามาใช้ในองค์กร แค่นี้ก็ถือว่าเป็นการทำ Digital Transformation เช่นกัน    สิ่งสำคัญของ Digital Transformation อยู่ตรงไหน?  การ Transform ไม่ได้อยู่ที่ว่าเทคโนโลยีนั้นล้ำสมัยมากแค่ไหน เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจและกระบวนการทำงาน ว่าจะเข้ามาช่วยเหลือการทำงานนั้น ๆ ได้มากน้อยเพียงใด โดยที่เทคโนโลยีเองก็มีความหลากหลาย พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว (High Technology) และมีความสามารถที่จะนำมาพัฒนาหรือช่วยองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การทำงานแบบ Cloud Concept (IaaS, PaaS และ SaaS) หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน (Disruptive Technology) เช่น  Machine Learning หรือ AI และ IoT เหล่านี้ คือ ตัวช่วยให้การทำงานขององค์กรง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น พนักงานสามารถนำเวลาไปใช้กับกระบวนการทำงานอื่นที่สร้างมูลค่าให้ตัวเองและองค์กรได้มากกว่าการต้องทำงานซ้ำๆ เดิมๆ เช่น การทำ Marketing Campaign เพิ่มยอดขายจากข้อมูลที่ AI suggest มาให้ เป็นต้น   ก่อนจะเริ่มต้นวางกลยุทธ์ทางธุรกิจคุณมีความเข้าใจต่อธุรกิจของคุณอย่างไรบ้าง?  ก่อนอื่นเลย คุณมีความเข้าใจต่อธุรกิจของคุณในแต่ละด้านอย่างไร เพราะแต่ละส่วนประกอบนี้ถือเป็นแหล่งที่มาของข้อมูลปลายทางที่สำคัญ คุณได้เริ่มทำ Business Transformation

Read more

5 สัญญาณที่บอกว่าองค์กรของคุณกำลังเข้าสู่ภาวะไซโล

ทุกวันนี้ ทั้ง ๆ ที่มีเครื่องมือดิจิทัลหรือซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ที่ออกแบบเพื่อการทำงานร่วมกันมากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ผลสำรวจจาก Customer.com ได้สะท้อนว่า 40% ของพนักงานในบริษัท ไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอจากเพื่อนร่วมงาน ด้วยเหตุผลว่า เป็นเรื่องของแผนก นั่นหมายถึงองค์กรของคุณกำลังเข้าสู่ภาวะไซโล (Silo) กลายเป็น Siloed Organization หรือ Siloed Company เมื่อแผนกต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน   5 สัญญาณที่บ่งชี้ว่า องค์กรของคุณกำลังเข้าสู่ภาวะไซโล คือ   ทำลายประสบการณ์ของลูกค้าเช่น บริษัทอีคอมเมิร์ซที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางการสื่อสารเพื่อแบ่งแยกลูกค้าที่คิดจะซื้อของของคุณ กับลูกค้าที่ซื้อของไปแล้ว โดยทีมการตลาดดูแลลูกค้าที่ซื้อของไปแล้ว ราวกับคนที่ยังไม่ได้ซื้อของ เพราะฝ่ายเซลล์กับฝ่ายการตลาดไม่คุยกัน  ความแปลกหน้าในองค์กรสัญญาณเตือนภัยคือ หากคุณไม่รู้จักคนส่วนใหญ่ที่ทำงานนอกทีม หรือสิ่งที่พวกเขาทำในองค์กร ซึ่งไม่ได้หมายถึงให้คุณคุ้นเคยกับทุกคนในองค์กร แต่อย่างน้อย ถ้าเป็นบริษัทเล็ก ๆ ก็ควรรู้จักชื่อของทุกคน แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่อย่างน้อยก็ควรจะรู้ชื่อและช่องทางติดต่อระดับบริหารแต่ละแผนก เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ปัดเป่าไซโลได้  ภาวะ”เรา” กับ “เขา” ระหว่างแผนก จะทำให้เกิดภาวะการแข่งขันและเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จขององค์กร เพราะไม่มีการแชร์ข้อมูลและขาดความร่วมมือร่วมใจ จากการกลัวว่าอีกทีมจะได้หน้า แต่ทีมคุณคือแพ้  พนักงานที่ถูกเพิกเฉยซึ่งมีความเชื่อมโยงระหว่างไซโลกับการไม่มีงาน คนที่ไม่ได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม หรือถูกปฏิบัติแบบไม่เหมือนคนอื่น อาจจะไม่มีความสุข รู้สึกไม่มีประโยชน์ และเสี่ยงต่อการแชร์หรือปั่นหัวสิ่งที่ไม่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ  การทำงานซ้ำซ้อนเพราะไม่มีการสื่อสารกัน ไม่มีทางที่จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำไป ได้ทำซ้ำกับคนอื่นหรือแผนกอื่นหรือไม่ ธุรกิจที่ขาดความร่วมมือจะมีคนและทีมงานที่ทำงานในโครงการที่คล้ายกัน ซึ่งนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลและสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย   ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือพนักงาน หากเจอสัญญาณเหล่านี้ ให้เริ่มใช้กลยุทธ์เพื่อทลายการทำงานแบบไซโล ที่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน   เพราะเมื่อโลกเข้าสู่ยุค data การจัดองค์กรแบบไซโลใช้ไม่ได้อีกแล้ว ทุกฝ่ายขององค์กรต้องเรียนรู้งานของฝ่ายอื่น ๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน (cross functional) มีการประสานงานที่เป็นเลิศ ไม่ตัวใครตัวมัน (collaboration) เพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด กฎระเบียบขั้นตอนต่าง ๆ ในองค์กรควรมีให้น้อยที่สุด ใช้ดุลพินิจ และการตัดสินใจของพนักงานภายใต้ข้อมูลที่เหมาะสมให้มากที่สุด  ยิ่งในยุคที่พนักงานยุคใหม่ต้องทำให้ได้แบบ Smart คือทำได้ทุกอย่าง ต้องเปลี่ยนจากกำหนดวิธีการ ไปเน้นที่กำหนดเป้าหมายแทนเพราะการทำงานโดยทุกคนรู้ในสิ่งที่ควรรู้ โดยไม่ต่างคนต่างรู้เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับองค์กรวันนี้   ที่มา  – https://www.cmswire.com/…/5-signs-your-organization-is…/  –  http://oknation.nationtv.tv/…/pigkys…/2018/04/04/entry-1  – https://www.prachachat.net/facebook-instant…/news-182372  Matana WiboonyasakeDigital Marketing Executive | Aware Group ตั้งใจที่จะส่งมอบเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เขียนให้อ่านง่ายและเข้าใจง่าย

Read more

ความต่างระหว่าง Data lakes และ Data warehouses 

ความต่างระหว่าง data lakes และ data warehouses นับตั้งแต่ที่ google บัญญัติศัพท์ว่า big data ขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อนคราวนี้ก็มีศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาโดยที่ขึ้นอยู่กับว่าเราให้ความสนใจไปที่ส่วนใด เรามาดูกันเรื่องความแตกต่างของ data lakes และ data warehouses กันว่าทั้งสองอย่างนี้ช่วยให้คุณจัดการกับข้อมูลได้อย่างไร  สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ในสาย data โดยมีโซลูชั่นส์คือ big data ของข้อมูลลูกค้า เราสามารถโฟกัสให้แคบลงมาโดยใช้ชื่อว่า data lakes   เรามาดูเรื่องของ Data Warehouses กันก่อน ความหมายของมันคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในส่วนกลาง (repositories) คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลต้นทางจะเป็นข้อมูลแหล่งเดียวกันหรือแหล่งที่ต่างกันก็ได้ ซึ่งจะเก็บทั้งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและข้อมูลอดีตเพื่อสร้างเป็นรายงานให้หัวหน้าได้ดู เช่นการเปรียบเทียบประจำควอเตอร์,การเปรียบเทียบประจำปี  จุดมุ่งหมายของ data warehouses ก็เพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างมีแบบแผนแบบเดียวกัน, โดยข้อมูลยังไม่ถูกโหลดจาก data warehouse จนกว่าจะมีการเรียกใช้    เราจะรู้ถึง ความต่างระหว่าง data lakes และ data warehouses ได้อย่างไร ?  Data lakes จริงๆแล้วความหมายของมันก็คือ data mart ที่เป็นซับเซตของ data warehouse ที่ผ่านกระบวนการ cleanse, package และเปลี่ยนแปลงให้เป็นโครงสร้างอย่างง่ายมาแล้ว ขณะที่ data lakes คล้ายกับส่วนของน้ำที่มีสถานะเป็นกลาง ข้อมูลจะไหลมาจาก stream (หรือระบบ source

Read more

Access Control เทรนด์หลังจากปี 2021 นี้ไป 

เทคโนโลยีของ Access Control ที่มีโอกาสเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในอีก 3-4 ปีข้างหน้า โดยเราได้รวบรวม 4 ตัวอย่างไว้ในบทความนี้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง     1.ระบบควบคุมการเข้าถึงแบบเคลื่อนที่ (Mobile Access Control)    ในปัจจุบัน สมาร์ทโฟนกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนคนส่วนใหญ่ก็มักจะพกสมาร์ทโฟนไปด้วยทุกที่ เนื่องจากไม่ได้มีเพียงฟังก์ชันการโทรเข้า-โทรออกอย่างเดียว แต่ยังสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกด้วย จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตจะมีการใช้สมาร์ทโฟนในรูปแบบของ Mobile Access Control มากขึ้น เช่น การนำมาใช้แทน Key Card ในการเข้า-ออกอาคารหรือสถานที่สำคัญ เพราะสมาร์ทโฟนเป็นสิ่งที่พกพาได้สะดวกและช่วยเพิ่มให้มีความปลอดภัยได้เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้เพื่อนำมายืนยันตัวตน    2.ระบบควบคุมการเข้าถึงผ่าน Cloud (Cloud-Based Access Control)    Cloud เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตอย่างมาก เนื่องจากทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ใดก็ได้และช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน แต่สิ่งที่จะมาพร้อมกับการเติบโตของ Cloud ก็คือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่มุ่งโจมตีข้อมูลใน Cloud โดยเฉพาะ ดังนั้นผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้องมีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้องค์กรที่จะมาใช้บริการ Cloud โดยกระบวนการหนึ่งที่สำคัญคือ การยืนยันตัวตนของผู้ที่มาเชื่อมต่อให้รู้แน่ชัดว่าคือพนักงานภายในองค์กรหรือผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงจริง ๆ ซึ่งก็เป็นบทบาทของเทคโนโลยี Cloud-Based Access Control ที่มีหน้าที่คัดกรองบุคคลที่เข้ามาเชื่อมต่อ เทคโนโลยีชนิดนี้จึงยังมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อไป ตราบใดที่ธุรกิจ Cloud ยังคงเติบโตอยู่   3.การยืนยันตัวตนหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication)   

Read more

หน้าที่ของ IT และแพลตฟอร์มที่รองรับและใช้ในการเก็บข้อมูล | เพื่อการรองรับ PDPA

แม้ว่า PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็น พ.ร.บ. ที่ทำให้ฝ่าย IT Admin และทุกๆองค์กรต้องมีมาตราการป้องกันข้อมูลรั่วไหลและต้องหาเครื่องมือคุณภาพมาช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมได้อย่างมั่นใจว่าทุกข้อมูลในบริษัทถูกควบคุมและมีการตรวจสอบการเข้าถึง-การใช้ข้อมูลอย่างใกล้ชิด   หน้าที่ของ IT Admin ต้องทำอะไรบ้าง?   1.Personal Data Discovery – สำรวจค้นหาข้อมูลส่วนบุคคล สำรวจค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกจัดเก็บไว้ในไฟล์เอกสาร รูปภาพ ฐานข้อมูล อีเมล และในระบบ File System ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล วันเกิด เลขบัตรประชาชน เลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ พร้อมจัดเก็บและจำแนกประเภทของข้อมูลเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร นอกจากนี้ยังต้องสามารถตั้งค่าปกปิดหรือแทนที่ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นๆ ในไฟล์บางประเภทเพื่อไม่ให้อ่านหรือเห็นได้ตามปกติ รวมถึงสามารถสแกนไฟล์เอกสารหรือรูปภาพในระบบไฟล์หรืออีเมลที่แพร่กระจายภายในองค์กรหรือส่งออกไปภายนอกได้ และสามารถทำงานรองรับระบบปฏิบัติการต่างๆเช่น Windows, macOS, Linux, FreeBDS, AIX, HPUX และ Solaris ได้อีกด้วย     เครื่องมือต่างๆที่ควรมี  Operating Systems: Microsoft Windows for Server or for Workstation, macOS,

Read more

ตอบโจทย์ PDPA ด้วย Microsoft 365 โซลูชัน

ไมโครซอฟท์เองในฐานะบริษัทระดับโลก ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตาม GDPR เช่นกัน ทำให้โซลูชันของไมโครซอฟท์เองอย่าง Microsoft 365 รองรับ GDPR มาตั้งแต่แรก เมื่อ PDPA มีความใกล้เคียงกับ GDPR มาก การปรับ Microsoft 365 ให้เข้ากันได้กับ PDPA จึงทำได้แทบจะทันที จากผลสำรวจของทางไมโครซอฟท์ได้ระบุว่า การเปลี่ยนมาใช้งาน Microsoft 365

Read more

ภายหลังการบังคับใช้ PDPA และบทลงโทษของพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บทความก่อนหน้า: ทบทวนเรื่องของ PDPA ที่ภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ ภายหลังการบังคับใช้ PDPA การที่เราจะยินยอมจะไม่เหมือนกับการยอมรับข้อตกลง (Agree) ที่ยาวเหยียดโดยที่เราไม่ได้อ่านข้อความ เพราะกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลจะมีโทษทั้งทางแพ่ง อาญา และทางปกครองด้วย ฉะนั้นเจ้าของข้อมูลจะต้องอ่านให้ละเอียด เพื่อดูว่าจุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลนี้ถูกนำไปใช้ตรงวัตถุประสงค์หรือไม่ หากเรายินยอมโดยไม่อ่าน ผู้ที่ได้รับการยินยอมหรือผู้ครอบครองข้อมูลของคุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ ตรงนี้ต้องเน้นย้ำเรื่องการอ่าน ศึกษาวัตถุประสงค์ หรือข้อบังคับให้ละเอียดก่อนให้ความยินยอมเสมอ เพื่อป้องกันการถูกละเมิดสิทธิ บทลงโทษของการละเมิดกฎหมาย โทษทางแพ่ง ค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่ได้รับจริง และศาลสั่งลงโทษเพิ่มขึ้นได้แต่ไม่เกินสองเท่าของสินไหมทดแทนที่แท้จริง โทษทางปกครอง หากไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ

Read more

11 สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อต้องใช้อุปกรณ์จัดเก็บสำรองข้อมูล 

11 สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อต้องใช้อุปกรณ์จัดเก็บสำรองข้อมูล  คุณเคยพบว่าอุปกรณ์จัดเก็บสำรองข้อมูลเสียหายหรือไม่? น่าใจหายนะ เพราะเราต่างก็รู้ดีว่าข้อมูลในนั้นสำคัญมากแค่ไหน การดูแลรักษาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรองจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเลือกได้ก็ต้องอยากดูแลอุปกรณ์ให้ใช้ได้นานๆ แต่ต้องทำอย่างไร? เรามี 11 สิ่งที่ควรและไม่ควรทเมื่อคุณต้องใช้อุปกรณ์จัดเก็บสำรองข้อมูล    Do’s – ควรทำ  สแกนอุปกรณ์ผ่านAntivirus Tool ที่อัปเดตเป็นประจำ เพื่อป้องกันอุปกรณ์ของคุณจากการติดไวรัสหรือการโจมตีของมัลแวร์   เก็บอุปกรณ์ไว้ในที่ปลอดภัยหยิบใช้งานได้สะดวก และไม่ทำตกหล่น  ถอดอุปกรณ์ออกอย่างปลอดภัยเสมอด้วยการใช้ไอคอน Safely Remove Hardware เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์และข้อมูลภายใน  ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรองอยู่เสมอลองเสิร์ชหา ‘วิธีรัน CHKDSK ผ่าน File Explorer’  ใช้งานด้วยความระมัดระวังและห่างไกลจากความร้อนฝุ่นหรือความชื้น  ตั้งรหัสผ่านให้กับข้อมูลที่ถูกบันทึกเช่น หากต้องการเก็บในรูปแบบของ MS Word ให้ไปเลือกที่ Save As> Tools > General Options>  ใส่รหัสในช่องแรก + OK > ใส่รหัสเดิมซ้ำเพื่อเป็นการยืนยัน    Don’t- ไม่ควรทำ    อย่าเก็บข้อมูลที่ติดไวรัสในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรองเด็ดขาด 

Read more

ทบทวนเรื่องของ PDPA ที่ภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ

ทราบหรือไม่ว่าคนไทยเริ่มตระหนักเรื่องความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล?   ข้อมูลจากผลสำรวจของ kNOW ของบริษัท Analytist ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดาตาและการวิจัยทางดิจิทัลได้สำรวจกับผู้บริโภคชาวไทย 500 คนผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ สำรวจช่วงกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาความเข้าใจที่คนไทยตระหนักรู้ ทัศนคติ การยอมรับพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงเพื่อเป็นการช่วยองค์กรต่างๆในการเตรียมความพร้อมต่อความคาดหวังที่กำลังจะเกิดในอีก 3 เดือนข้างหน้า ช่วงพฤษภาคม 2563  พบว่า     และเมื่ออ้างอิงจากข้อมูลจาก We are

Read more

ใครเป็นใครใน PDPA? และประโยชน์ที่ได้จาก PDPA ใครได้อะไร?

ใครเป็นใครใน PDPA?   เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) บุคคลที่ข้อมูลนั้นชี้ไปถึง ไม่รวมถึงบุคคลที่เสียชีวิตหรือนิติบุคคล หมายรวมถึงประชาชนทุกคนที่มีข้อมูลอยู่ในภาครัฐ และลูกค้าหรือพนักงานที่มีข้อมูลอยู่กับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิทราบวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ/ ใช้ / เผยแพร่ข้อมูล รวมถึงขอให้ลบ/ ระงับได้เมื่อไม่ต้องการ และยังสามารถร้องเรียน/ ขอค่าสินไหมทดแทนได้ หากข้อมูลของตนถูกใช้งานผิดจากวัตถุประสงค์ที่แจ้ง   ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) หน่วยงาน / องค์กร

Read more