บริหารจัดการทรัพยากรด้วยระบบ ERP | ประโยชน์ของระบบ ERP

ในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ของตน ตลอดจนต้องสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุนการผลิต การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สถานประกอบการอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญโดยเฉพาะระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นสิ่งที่สถานประกอบการอุตสาหกรรมหลายแห่งให้ความสำคัญ  

ระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรหรือระบบ ERP (Enterprise Resource Planning System) เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยการรวบรวม เชื่อมโยง วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลระหว่างแผนกในองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว และยังสามารถขยายผลสู่การเชื่อมโยงระหว่างองค์กรเข้าด้วยกันตั้งแต่ 

  • ระบบงานทางด้านการวางแผนการผลิต (Production Planning) 
  • การจัดการวัสดุ (Materials Management) 
  • การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) 
  • การจัดการด้านคุณภาพ (Quality Management) 
  • การจัดซื้อ (Purchasing) 
  • การขายและกระจายสินค้า (Sales and Distribution) 
  • การบัญชีและการเงิน (Financial Accounting) 
  • ระบบงานทรัพยากรบุคคล (Human Resource) 

การเชื่อมโยงระหว่างองค์กรนี้ช่วยให้การวางแผนและจัดการทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เพิ่มความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้ในการวางแผน และการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิผล  

 กระนั้นก็ตามหากจะมองให้ลึกถึงประโยชน์ของระบบ ERP เราสามารแบ่งออกเป็น 5 ข้อหลักดังนี้   

1) ช่วยรวบรวมข้อมูลทางการเงินของบริษัท 

เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจภาพรวมของฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการตัดสินใจของผู้บริหาร   

2) ช่วยรวบรวมข้อมูลการสั่งสินค้าของลูกค้า 

ตั้งแต่การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านตัวแทนขายจนกระทั่งถึงขั้นตอนของการส่งสินค้าและเก็บเงิน ทำให้บริษัทดำเนินการต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว รวมถึงสื่อสารภายในระหว่างกันได้ง่ายขึ้น และสามารถตรวจสอบสถานการณ์ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการประสานกันระหว่างกระบวนงานตั้งแต่การผลิต การเก็บรักษาสินค้าคงคลัง จนถึงการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าไปยังที่หมายปลายทางที่ต่างกันได้ตามกำหนดส่งมอบสินค้าของลูกค้า   

3) ช่วยสร้างมาตรฐานและเพิ่มความรวดเร็วในการวางแผนและควบคุมการผลิต  

โดยธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบ ERP สามารถสร้างมาตรฐานและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนและควบคุมการผลิตทำให้ประหยัดเวลาในการดำเนินการ และสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี   

4) ช่วยให้การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ  

ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling, MPS) ซึ่งเป็นการวางแผนการผลิตสำหรับสินค้าสำเร็จรูป การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirements Planning, MRP) ซึ่งเป็นการวางแผนในส่วนของสินค้าระหว่างผลิต (WIP) และวัตถุดิบการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) และการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) ทำให้สามารถวางแผนการสั่งผลิตสินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต และชิ้นส่วน รวมทั้งการสั่งซื้อด้วยปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม ทำให้ช่วยลดสินค้าคงคลังลงได้ทั้งในส่วนของสินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต และวัตถุดิบ และยังช่วยในการวางแผนในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าซึ่งจะช่วยลดสินค้าสำเร็จรูปได้เป็นอย่างดี   

5) ช่วยให้เชื่อมโยงข้อมูลทั่วทั้งองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีหลายหน่วยธุรกิจ ซึ่งระบบ ERP จะสามารถลดปัญหาการสื่อสาร การเชื่อมโยงข้อมูล การวางแผนร่วมกันระหว่างแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกขาย ฝ่ายผลิต คลังสินค้า และแผนกจัดซื้อ ทำให้การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain Management) มีความสอดคล้องประสานกัน ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันทั้งองค์กร สามารถลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามกำหนดเวลาและสามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว 

 Aware มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอุตสาหกรรม ช่วยดูแลแนะนำลูกค้าให้ก้าวทันนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการบูรณาการระบบ่แก่กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ เรามีคูพันธมิตรที่มีประสิทธิภาพและเป็นคู่ค้าคนสำคัญกับผู้ให้บริการระบบ ERP ชั้นนำของโลก คุณสามารถปรึกษาเพิ่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ ERP กับเราได้ 

Tags

What do you think?

Related articles