จาก Internet of Things สู่ Internet of Behaviors

ปัจจุบัน Internet of Things (IoT) หรือเทคโนโลยีเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ กับอินเทอร์เน็ตกำลังถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ภายหลังจากการรวบรวมการใช้งานและข้อมูลต่างๆที่ได้จากอุปกรณ์ IoT เหล่านี้กลับให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรม ความสนใจ และความชอบของผู้ใช้ที่สามารถสร้างคุณค่ามากมายให้แก่ธุรกิจ จนได้สมญานามว่าเป็น Internet of Behaviors (IoB) แน่นอนว่าเรายังอยู่แค่ในช่วงเริ่มต้น แต่นักวิเคราะห์เริ่มมองเห็นความเป็นไปได้มากมายในการใช้ IoB มาขยายโอกาสและความเป็นไปได้อีกสารพัดทั้งในด้านธุรกิจการเงิน ส่วนบุคคล สถานที่ทำงาน และอื่น ๆ

Internet of Behaviors (IoB) เริ่มต้นจากอะไร?

ในปี 2555 Gote Nyman ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิได้พัฒนาแนวคิดที่ว่าพฤติกรรมสามารถขุดค้นให้เห็นความตั้งใจต่างๆของแต่ละบุคคลจากภูมิหลังของเขา เพื่อที่รู้ว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกนั้นสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ แต่ Nyman ยังคงคิดว่า IoB นั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนอยู่มาก เนื่องจากสถิติที่ไม่สามารถให้ความหมายและบริบทของชีวิตแต่ละคนอย่างเต็มได้ที่ ดังนั้นนักวิจัยของ Gartner จึงเชื่อว่าแนวคิดนี้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใคร่มีใครเปิดเผย ข้อมูลเชิงลึกและความเข้าใจในพฤติกรรมศาสตร์

ในการคาดการณ์เเนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ล่าสุดสำหรับปี 2021 Gartner ได้ประกาศว่า Internet of Behaviors จะกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนตระหนักมากขึ้นในชีวิตประจำวันและการทำงาน เพราะมันรวมไว้ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลจากเทคโนโลยีที่ใช้อยู่โดยตรง เช่น การจดจำใบหน้า การติดตามตำแหน่ง ฯลฯ เข้าสู่ถังข้อมูลขนาดใหญ่ แล้วเชื่อมต่อข้อมูลที่บอกช่วงเวลา เหตุการณ์ สถานที่ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกัน

ธุรกิจจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อหาทางกำหนดพฤติกรรมของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ในการตรวจสอบสุขภาพในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่ององค์กรต่างๆอาจใช้ประโยชน์จาก IoB ผ่านการแสกนจากคอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าพนักงานสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ มีอุณหภูมิร่างกายกี่องศา สมควรหรือไม่ที่จะอนุญาตให้ผ่านเข้าอาคาร หรือแม้แต่สมาร์ทโฟนเองที่สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของคุณอยู่เงียบๆ ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร ทุกวันนี้แบรนด์ต่างๆรู้จักคุณมากขึ้น ทั้งสิ่งที่คุณสนใจ ชอบหรือไม่ชอบอะไร คุณกำลังมองหาอะไร คุณหาจากที่ไหน ตัวเลือกของคุณมีอะไรบ้าง และสุดท้ายวิธีการซื้อสินค้าของคุณ เช่น Uber ใช้ข้อมูล IoT เกี่ยวกับคนขับ สถานที่ปลายทาง และกำหนดค่าเพื่อปรับเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ใช้

ความปลอดภัยทางไซเบอร์และ Internet of Behaviors

จุดอ่อนของ IoT ที่บรรจุด้วยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนสามารถสื่อถึงตัวและพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลได้อาชญากรจึงมองเห็นเป็นหนทางทำเงินจากการเข้ารหัสแฮกข้อมูล รวบรวมและขายให้กับอาชญากรอื่น ๆต่อไป ทำให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น เพื่อใช้ข้อมูลปลอมตัวเป็นบุคคลนั้นมาฉวยประโยชน์ด้านการเงินต่อ หรือใช้ในจุดประสงค์ชั่วร้ายอื่น ๆ

เครือข่ายอุปกรณ์ IoT ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับบริษัทต่างๆที่จะเชื่อมโยงสมาร์ทโฟนของคุณกับแล็ปท็อป ผู้ช่วยเสียงในบ้าน กล้องวงจรปิดในบ้าน หรือในรถยนต์ และอาจบันทึกเสียงหรือข้อความในโทรศัพท์มือถือของคุณ นอกจากนี้ไม่ใช่แค่อุปกรณ์เท่านั้นที่รวบรวมข้อมูลของผู้ใช้เอาไว้ เบื้องหลังอุปกรณ์เหล่านั้นคือ ปลายทางของข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ บริษัทจำนวนมากแบ่ง (ขาย) ข้อมูลระหว่างสายงานกับบริษัทต่างๆรวมถึงบริษัทในเครื่อ เช่น Google, Facebook และ Amazon ที่ยังคงนำส่งข้อมูลผู้ใช้เข้าสู่ระบบนิเวศข้อมูลออนไลน์ทั้งหมดโดยมักไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้ นั่นหมายความว่ามีการพัฒนาโปรโตคอลการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่และธุรกิจต่างๆจะต้องตื่นตัวและดำเนินการเชิงรุกมากขึ้้น

อย่างไรก็ตาม แม้ IoB ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่เนื่องจากข้อมูลและการวิเคราะห์ใหม่ ๆ จะพร้อมใช้งานมากขึ้น (เติบโตขึ้นเนื่องจาก IoT) บริษัท ต่างๆควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาตระหนักถึงพฤติกรรมหรือแนวโน้มของผู้บริโภคเพื่อที่จะรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำกับดูแลข้อมูล การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และโปรแกรมการรับรู้จะช่วยให้ธุรกิจอยู่เหนือเส้น

ในความเป็นจริง Gartner มองว่าเร็ว ๆ นี้ ภายในปี 2025 ประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกจะถูกใช้ข้อมูลด้าน IoB หนึ่งอย่างทั้งในแง่ลูกค้าหรือผู้ใช้ทั่วไป และในแง่ข้อมูลประชากรของภาครัฐ ยิ่งไปกว่านั้นในปี 2023 Gartner คาดการณ์ว่ากว่า 40 % ของทุกกิจกรรมจะถูกติดตามผ่านทางมือถือและการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ และธุรกิจจะนำพฤติกรรมนั้นมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดให้เป็นไปในทิศทางที่ธุรกิจต้องการ จึงเกิดคำถามที่น่าสนใจต่อไปว่ามนุษย์จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไรในโลกที่ถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล

Tags

What do you think?

Related articles