ที่มาของสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (อ้างอิง)

คุณสามารถดูอ้างอิงที่มาของสถิติจากบทความการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยี (IT Security)

ได้โดยการวางเคอร์เซอร์บนตัวหนังสือสีดำแล้วกดคลิก

 

สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย

 

ไทยเป็นประเทศที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตอยู่ในอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 90% ของทั้งประเทศ มีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยอยู่ที่ 46 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 59 ล้านคนภายในปี 2563

 

คนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ Gen Y (อายุ 17-36 ปี) เป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันสูงสุดในช่วงวันทำงานหรือวันเรียนหนังสือ โดยใช้เฉลี่ย 7.12 ชั่วโมง/วัน และมากถึง 7.36 ชั่วโมง/วันในช่วงวันหยุด รวมถึงใช้สมาร์ทโฟนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากกว่าอุปกรณ์อื่นๆคิดเป็นร้อยละ 90.5

 

สถานที่ที่นิยมใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือที่บ้าน คิดเป็น 85.6% รองลงมาคือ ที่ทำงาน 52.4% ตามมาด้วยการใช้ระหว่างเดินทาง 24% เพิ่มขึ้นจาก 14% ในปีก่อน ขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาลดลงจาก 19.7% เป็น 17.5% ในปีนี้

 

กิจกรรมที่นิยมทำเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การใช้โซเชียลมีเดีย 86.9% การค้นหาข้อมูล 86.5% การรับส่งอีเมล 70.5% การดูทีวีและฟังเพลงออนไลน์ 60.7% และการซื้อสินค้าออนไลน์ 50.8%

 

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทย

 

แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนในประเทศไทยจากผลสำรวจระดับโลก พบว่ามาตรฐานในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของไทย กลับต่ำกว่ามาตรฐาน และติดในอันดับเสี่ยงที่ 15 ของโลก จาก165 ประเทศ

 

พบข้อมูลผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจาก 511 คน จำนวน 67% ไม่เชื่อว่าตนเองตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์ 31% ของผู้ใช้ไม่ติดตั้งโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยบนอุปกรณ์เชื่อมต่อ และมีผู้ใช้ในไทยจำนวน 46% ที่ตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์แล้ว

 

จากข้อมูลของไมโครซอฟท์เผยรายงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ฉบับล่าสุด ตรวจพบภัยคุกคามจากมัลแวร์ที่อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดอาชญกรรมทางออนไลไน์ได้ในไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 2 เท่า

 

จากข้อมูลของ Techinasia พบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ของคนไทยทั้งส่วนตัวและส่วนองค์กร 8 ใน 10 เครื่องเจอซอฟท์แวร์ปลอม

 

ในบรรดาเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างไทย อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และเวียตนาม จากการติดตามผลจากผู้ที่ลงโปรแกรมระวังภัยทางไซเบอร์แล้ว ฮาร์ดไดรฟ์ของประเทศไทยติดมัลแวร์สูงถึง 84% ในขณะที่เพื่อนบ้านข้างต้นติดมัลแวร์ในอัตราค่าเฉลี่ยทั่วไปอยู่ที่ 69%

 

ข้อมูลจาก BitDefender ครึ่งปี 2017 แรก มีรายงานเกี่ยวกับป้องกันการติดมัลแวร์ ประเทศไทยเสี่ยงติดอยู่อันดับที่ 5 ของเอเชียเป็นรองจากอินเดีย อินโดนีเซีย จีน และเวียตนามเท่านั้น

 

รวมรวมเนื้อหา: มทนา วิบูลยเสข
อัพเดท: 11-02-2018

Tags

What do you think?

Related articles